Page 147 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 147
C22
นวัตกรรมบันไดทูอินวัน
นางสาวจุฑามาศ สถิต, นางสาวฐาปนี บุญมี
โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ในโรงพยาบาลชุมชนหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นด่านหน้าในการรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน แล้วยังต้อง
ให้บริการในผู้ป่วยที่ทำหัตถการรายวัน เช่นทำแผล ฉีดยาและยังต้องเป็นหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกทั่ว นอกเวลา
ราชการด้วย บุคลากรที่ปฏิบัติงานจึงต้องปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อ
ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรีบด่วน ให้เกิดความปลอดภัย บรรเทาภาวะแทรกซ้อน และคงไว้ซี่งสภาวะสุขภาพที่
เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและการบริการที่มีคุณภาพ ภาพการให้บริการในห้องฉุกเฉิน ยังคงเห็นถึงความวุ่นวาย
ภายในห้องฉุกเฉิน ความแออัด เตียงเสริมแทรกเข้ามาจนไม่สามารถทำงานได้ไม่สะดวก อีกทั้งอัตรากำลังบุคลากร
ในห้องฉุกเฉินมีจำนวนน้อย ความจำเป็นในการรักษาพยาบาลจำเป็นต้องเลือกการดูแลรักษาพยาบาลในกลุ่ม
ผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องการการช่วยเหลือเพื่อยื้อชีวิตอย่างเร่งด่วนก่อน ทำให้ผู้ป่วยที่นอนอยู่ก่อนรู้สึกว่าแพทย์หรือ
พยาบาลละเลย อีกทั้งระยะรอคอยของผู้ป่วยใหม่ ผู้ป่วยที่มาทำหัตถการล้างแผลนานขึ้น (ภัทรรัช เทศถนอม,
2561) สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยวปี 2566 จำนวน 39,633 ราย เป็น
ผู้ป่วยที่มารับบริการด้านหัตถการล้างแผล จำนวน 5,755 ราย หรือร้อยละ 14.5 ซึ่งเตียงนอนสำหรับผู้ป่วยใน
ห้องฉุกเฉิน มีทั้งหมด 4 เตียง สูง 0.9 เมตร ไม่สามารถปรับระดับได้ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่มีการทรงตัวไม่ดีจะ
มีความลำบากในการขึ้น - ลงเตียง อาจเกิดการพลัดตกจากการขึ้น - ลง เตียงได้ ต้องใช้ผู้ช่วยในการประคอง
ขึ้น - ลง จำนวน 1 - 2 คนต่อผู้ป่วย 1 คน ในขณะที่บุคลากรมีอยู่จำกัด
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการพยุงตัวขึ้นเตียงของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน
2. เพื่อลดระยะเวลารอคอยในการทำหัตถการล้างแผล
วิธีการศึกษา/การดำเนินงาน
ประเมินปัญหาของผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องฉุกเฉินและหาแนวทางพัฒนาแก้ไขปัญหาไปตามวงจร
PDCA จนเกิดเป็นนวัตกรรมบันไดทูอินวัน
รูปภาพที่1 รูปภาพที่2
เตียงและบันไดที่ให้บริการผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน แนวคิดบันไดขึ้นเตียงนำมาประยุกต์กับวอคเกอร์ 4 ขา
ออกแบบบันไดขึ้น - ลงเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการห้องฉุกเฉิน โดยมีแนวคิดมาจากนำบันไดขึ้นเตียงที่มี
อยู่มาประยุกต์กับผลิตภัณฑ์วอคเกอร์ ทำให้บันไดมีการรองรับน้ำหนักตามมาตฐานเดิมและสามารถทรงตัวใน
การขึ้น – ลงเตียงได้ดียิ่งขึ้น