Page 150 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 150

C25



                           ผลการใช้ Simplified Weaning and Extubation Protocol เพื่อช่วยถอดท่อช่วย
                   หายใจในผู้บาดเจ็บวิกฤต ณ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ (ICU Trauma) และหอผู้ป่วย

                                           ศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น


                                      นางนิตยา ทองเงิน, แพทย์หญิงพลอยทิพย์ จันทร์ศิริโยธิน และนางสุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ
                                                                โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         การหย่าเครื่องช่วยหายใจและการถอดท่อช่วยหายใจในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุมีความจำเพาะ
                  จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเนื่องจากเกณฑ์การหย่าท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตทั่วไปที่เป็นกลุ่มผู้ป่วย
                  ที่แตกต่างจากผู้บาดเจ็บวิกฤต ได้แก่ ความแตกต่างด้านคะแนนความรู้สึกตัว (Glasgow coma scale: GCS)
                  และจำนวนสารน้ำที่ใช้ในการกู้ชีพ (resuscitation volume) เนื่องจากผู้บาดเจ็บบางส่วนเป็นผู้บาดเจ็บ
                  ทางสมองรุนแรง และได้รับสารน้ำกู้ชีพจำนวนมาก ทำให้คะแนนความรู้สึกตัวไม่เข้าเกณฑ์ และกล่องเสียง

                  (vocal cord) มีโอกาสบวมสูง จึงต้องมีเกณฑ์การประเมินที่จำเพาะเพื่อการหย่าเครื่องและถอดท่อช่วยหายใจ

                  วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                         เพื่อศึกษาผลการใช้ Simplified Weaning and Extubation Protocol เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
                  เพื่อถอดท่อช่วยหายใจในผู้บาดเจ็บวิกฤตที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจ

                  วิธีการศึกษา

                         1. รูปแบบการศึกษา : prognostic retrospective cohort study
                         2. การกำหนดตัวอย่างและวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                                2.1 ผู้ป่วยที่ใช้ในการศึกษา (domain): ผู้บาดเจ็บวิกฤตทุกรายที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ
                                    ที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุ (ICU trauma)

                                2.2 เกณฑ์การคัดออก (exclusion criteria): ไม่มีเกณฑ์คัดออก
                                2.3 ตัวแปรที่ศึกษา
                                        2.3.1 ตัวแปรต้น (determinants): ลักษณะการบาดเจ็บ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ
                                        2.3.2 ตัวแปรตาม (outcomes): re-intubation within 24 h

                                        2.3.3 ตัวแปรควบคุม (confounders): ไม่มี
                         3. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
                                3.1 เปรียบเทียบ baseline characteristics โดยใช้ student t-test สำหรับ continuous
                         data และ exact probability test สำหรับ categorical data

                                3.2 ใช้ STATA MP64 ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                  ผลการศึกษา
                         จากผลการศึกษา และการนำ protocol ไปทดลองใช้ กับผู้ป่วย จำนวน 43 ราย ตั้งแต่ ตุลาคม 2566
                  จนถึง มีนาคม 2567 พบว่า ผู้ป่วย ที่ประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ จำนวน 39 ราย สามารถถอดช่วยหายใจสำเร็จ
                  แต่มี 4 ราย ที่ต้องกลับมาใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำและต้องเจาะคอเพื่อใส่ท่อในระยะยาว จากปัจจัย

                         1. ในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155