Page 155 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 155

C30


                        การพัฒนารูปแบบการให้บริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในห้องฉุกเฉิน
                                                    โรงพยาบาลหนองบัวลำภู


                                                     นางอติกานต์ ตุ้มทอง, นางณัฏฐกิตติ์ ตรีนุชกร, และนายเฉลิมพล เชี่ยวรุ่งโรจน์

                                                         โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ข้อมูล Service Plan สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ปี พ.ศ. 2563 - 2565
                  พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองน้อยกว่าร้อยละ 25, อัตราการเสียชีวิต trauma
                  triage level 1 ภายใน 24 ชั่วโมงน้อยกว่าร้อยละ 12 และอัตราผู้ป่วย trauma triage level 1 จาก ER to OR

                  ภายใน 60 นาที มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งเมื่อทบทวนแล้วสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความล่าช้าในการดูแลผู้ป่วย
                  ที่ห้องฉุกเฉิน ดังนั้นจึงมีแนวคิดการพัฒนารูปแบบการให้บริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
                  ในห้องฉุกเฉิน โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายที่ให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่จุดเกิดเหตุ,
                  การนำส่งผู้ป่วยมายังห้องฉุกเฉิน, การดูแลรักษาที่ห้องฉุกเฉิน, การย้ายผู้ป่วยไปห้องผ่าตัดและการส่งต่อไป

                  หอผู้ป่วย เพื่อลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและให้ขั้นตอนที่เหลืออยู่มีความรวดเร็วและปลอดภัยมากที่สุด

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาการให้บริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

                  วิธีการศึกษา
                               1. จัดประชุม PCT ศัลยกรรมและกลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.หนองบัวลำภู เพื่อค้นหาปัญหา
                  ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แล้วจัดทำแนวทางการพัฒนาการให้บริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วย

                  บาดเจ็บที่ศีรษะ เพื่อให้สามารถดูแลได้รวดเร็วขึ้นทุกขั้นตอน
                               2. จัดประชุมอบรมความรู้ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยบาดเจ็บ
                  ที่ศีรษะ ให้กับเครือข่ายผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินพื้นฐาน ได้แก่ หน่วยกู้ชีพพื้นฐานของมูลนิธิ และอบต.

                  ในพื้นที่, โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด
                              3. จัดให้มีกลุ่ม LINE เครือข่ายผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินพื้นฐาน เพื่อให้สามารถประสานการส่งต่อ
                  ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะกับรพ.หนองบัวลำภู, จัดให้มีช่องทางติดต่อประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
                  ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดผ่านระบบ Refer link และจัดให้มีกลุ่ม LINE ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน
                  กับประสาทศัลยแพทย์เพื่อให้สามารถปรึกษาและร่วมวางแผนการรักษาตั้งแต่จุดส่งต่อ

                             4. จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะช่องทางด่วน

                           การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะแบบเดิม         การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะช่องทางด่วน
                   1. การนำส่งผู้ป่วยโดยญาติและระบบส่งต่อจาก 1. การนำส่งผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุผ่านเครือข่าย

                   โรงพยาบาลเครือข่าย ไม่มีการประสานงานมาที่ ผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อจาก
                   แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึง   โรงพยาบาลเครือข่ายมาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
                                                               โดยผ่านระบบ Refer link และโปรแกรม LINE เพื่อส่ง
                                                               ข้อมูล มาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมประสาท
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160