Page 153 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 153

C28




                  วิธีการศึกษา
                         ใช้กรอบแนวคิดของ Deming Cycle (Deming, 2000) ประกอบด้วย 1) PLAN : วิเคราะห์

                  สถานการณ์ โดยศึกษาข้อมูลและอุบัติการณ์ผู้ป่วยที่นำส่งโดยอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และพนักงานฉุกเฉิน
                  การแพทย์ ทบทวนวรรณกรรมและสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย

                  ฉุกเฉินในระยะก่อนถึงโรงพยาบาลของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์
                  2) DO : ประชุมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์เกี่ยวกับการคัดแยก

                  ประเภทผู้ป่วยและการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในระยะก่อนถึง 3) CHECK : ประเมินผลการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วย
                  ฉุกเฉินในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูล 4) ACT : ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
                  แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบท

                  กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์
                  ในเขตอำเภอศรีบุญเรือง อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายและอยู่ระหว่างการปฏิบัติงาน

                  จำนวน 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและแบบทดสอบความรู้
                  เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทผู้ป่วยจำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน วัดผลหลังให้ความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ

                  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทผู้ป่วย
                  ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 13.78

                  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.95 ปี 2566 ผู้ป่วยฉุกเฉินสีแดงเข้ารับบริการด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
                  เพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.5 ได้รับการเปลี่ยนถ่ายจากหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐานสู่หน่วยปฏิบัติการระดับสูง
                  เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่นำส่งโดยอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และพนักงาน

                  ฉุกเฉินการแพทย์ เสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินลดลง ร้อยละ 15.2

                  สรุปผล
                         แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในระยะก่อนถึงโรงพยาบาลของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์

                  และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่ประเมิน
                  อาการเบื้องต้นและคัดแยกประเภทผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเข้าถึงหน่วยปฏิบัติการระดับสูง

                  และการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรนำแนวทาง
                  นี้ไปประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลในจังหวัดให้ครอบคลุมและศึกษาผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158