Page 158 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 158
C33
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในการจัดการภาวะเร่งด่วน
ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันเฉียบพลัน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
นางจินตนา เทพบุรี, นางสาวถนิมภรณ์ งาสิทธิ์ และนางสาวมินตรา งามงอน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่มี
ความรุนแรงที่เกิดอันตรายถึงชีวิต และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งระบบสุขภาพในปัจจุบัน เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
เป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ของการเสียชีวิต และอันดับ 3 ของความพิการจากการสำรวจในปี 2562 ทั่วโลก
พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 101 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 12.2 ล้านคน (หรือมีผู้ป่วยรายใหม่
1 คนในทุก 3 วินาที) และเสียชีวิต 6.5 ล้านคน จากรายงานขององค์การอัมพาตโลก (WSO) ร้อยละ 80
ของประชากรโลกที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันได้ รายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
ในปี 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 34,545 คน (อัตราตาย 53 ต่อประชากรแสนคน)
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในแต่ละปี ตั้งแต่ 2560-2564 พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
สมองต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 479, 534, 588 และ 645 ตามลำดับ อัตราตายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี
2560 - 2563 พบอัตราตายต่อประชากรแสนคนจากโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 48, 47,53 และ 53 ตามลำดับ
จากข้อมูลสถิติการเข้ารับบริการที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบบ่อยใน 5 อันดับแรกของโรคทางอายุรกรรม และมีอัตราตายและมี
อัตราตายเป็นอันดับ 2 รองจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ระบบการดูแลผู้ป่วย stroke ของ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน เริ่มจัดตั้งระบบการดูแล
ผู้ป่วย Stroke fast track ในปีงบประมาณ 2555 พัฒนาเป็นโรงพยาบาล Node ของโรงพยาบาลสกลนคร ที่สามารถให้
ยาละลายลิ่มเลือด Recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) ได้ ในปีงบประมาณ 2556 และรับ
Refer จากโรงพยาบาลลูกข่ายจำนวน 5 แห่ง ผู้ป่วย Stroke ที่มารับบริการปีงบประมาณ 2555-2564 จำนวน
3,233 ราย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าระบบช่องทางด่วน (Stroke fast track) จำนวน 1,312 ราย มีผู้ป่วย
ได้รับยา rt-PA จำนวน 102 ราย ให้ยาrt-PA ที่ห้องฉุกเฉินทุกรายก่อนรับเข้าพักรักษาตัวในตึกผู้ป่วย
ในโรคหลอดเลือดสมอง Stroke unit การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาล
ดำเนินการและติดตามผลอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารทางการพยาบาล ได้ทบทวนผล
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระบบ Stroke fast track ที่ผ่านมาพบว่า ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยของภาพรวม
ของหน่วยงาน ตัวชี้วัดเป็นไปตามเป้าหมาย แต่เมื่อวิเคราะห์กระบวนการดูแลในระบบช่องทางด่วน พบว่า ผู้ป่วย
26 ราย มีระยะเวลาการได้รับยา rt-PA มากกว่า 60 นาที และพบอุบัติการณ์คัดกรองผู้ป่วยผิดพลาด 2 ครั้ง ผู้วิจัย
จึงค้นหาสาเหตุโดยการสังเกตการนิเทศทางการพยาบาลในหน่วยงาน พบพยาบาล 7 คนในจำนวนพยาบาล
ทั้งหมด 17 คน มีการปฏิบัติตามขั้นตอนล่าช้า การตรวจร่างกายทางระบบประสาท NIHSS ไม่เป็นไปตามขั้นตอน
และการประเมินไม่เป็นแบบแผน ทำให้ได้ข้อมูลความผิดปกติทางระบบประสาทที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการให้ยา
ผู้ป่วยล่าช้า ส่งผลให้ทีมตัดสินใจให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดไม่ทันเวลา จากประเด็นปัญหา
ดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นปัญหาของสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพมีผลกระทบต่อคุณภาพบริการการดูแลผู้ป่วย