Page 157 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 157

C32


                  ช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลางและรุนแรง
                  ที่เข้ารับการบริการในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองบัวลำภูแบบเดิม เดือนม.ค. 2564 - ธ.ค. 2565 จำนวน 64 ราย
                  และกลุ่มที่ใช้รูปแบบการให้บริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ  เดือน ม.ค. 2566 - ธ.ค. 2566 จำนวน

                  64 ราย รวม 128 ราย โดยพบว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะแบบเดิมและแบบช่องทางด่วน ไม่พบความแตกต่าง
                  ทางสถิติในเรื่องเพศ, อายุเฉลี่ย (41.6:47.4), วิธีการนำส่งผู้ป่วย (โดยญาติ 6.2%:10.0%, โดยระบบ EMS
                  30.85%:31.4%, รับ Refer 63.1%:58.6%), ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตแรกรับ (139/83:140/87), GCS แรกรับ
                  (9.4:9.9) แต่มีความแตกต่างทางสถิติในเรื่องภาวะมีกระดูกหักร่วม (23.1%:2.9% )  เมื่อวิเคราะห์ด้วย
                  Multivariable Mean Difference Regression หลังปรับอิทธิพลตัวแปรต่าง ๆ พบว่า การใช้รูปแบบการให้บริการ

                  ช่องทางด่วน สามารถลดระยะเวลาการได้รับผล CT scan ลดลงจากเฉลี่ย 87.7 (±32.0) นาที เป็น 65.4
                  (±34.4) นาที ลดลงเฉลี่ย 19.12 นาที (95%CI:-31.85,-6.39), ลดระยะเวลาการส่งเข้าห้องผ่าตัดจากเฉลี่ย
                  188.0 (±75.9) นาทีเป็น 131.8 (±61.7) นาที ลดลงเฉลี่ย 55.93 นาที (95%CI:--90.46,-1.40) และสามารถ

                  ลดระยะเวลาส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอาการต่อในหอผู้ป่วยจากเฉลี่ย 165.4 (±40.5) นาที เป็น 103.2
                  (±25.6) นาที ลดลงเฉลี่ย 45.42 นาที (95%CI:-72.72,5.57) แต่ระยะเวลาการส่งเข้าตรวจ CT Scan
                  กลับเพิ่มขึ้นจาก 45.9 (±32.0) นาที เป็น 65.4 (±34.4) นาที

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การพัฒนารูปแบบการให้บริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในห้องฉุกเฉินโดยบูรณาการ

                  ร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายที่ให้บริการ ทำสามารถดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้เร็วขึ้น
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162