Page 160 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 160
C35
5. อภิปรายผล จากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า
การพัฒนารูปแบบในการพัฒนา โดยการมี
ส่วนร่วมในการออกแบบของทีมผู้ปฏิบัติจะมี
ความเหมาะสมและได้ผลลัพธ์การปฏิบัติที่ดี
การนำหลักการนิเทศการพยาบาลทางคลินิก
มาออกแบบตามทฤษฎีการพัฒนาการเรียนรู้
ของ บลูม (Bloom)ด้านทักษะพิสัย และใช้
การสอนงานแบบ Coaching สามารถลด
ข้อบกพร่องหรือพัฒนาความสามารถของ
พยาบาลในด้านนี้เพิ่มขึ้น นอกจากผู้ป่วย
จะได้รับประโยชน์จากการบริการที่รวดเร็ว
เข้าถึงบริการที่จำเป็นเร่งด่วนแล้ว ยังเป็น
แรงผลักให้บุคลากรได้แสดงความสามารถ
เฉพาะวิชาชีพพยาบาลได้เป็นอย่างดี และมี
สมรรถนะตามเกณฑ์เป้าหมายขององค์กร .5
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. จากการวิจัย พบว่า กระบวนการนิเทศทางการพยาบาลเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้พัฒนา
สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพได้ดี เพราะการนิเทศมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศและผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิด
ความรู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกได้รับการช่วยเหลือ พยาบาลผู้ปฏิบัติเกิดเจตคติที่ดีในการพัฒนาขีดความสามารถ
ในการปฏิบัติงานของตนเอง มั่นใจในการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย และสามารถปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วย
ได้ถูกต้องมากขึ้น
2. จากผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพมีความสามารถในการ
จัดการภาวะเร่งด่วนของ ผู้ป่วยStroke ได้ถูกต้อง รวดเร็วตามกระบวนการดูแลผู้ป่วย ทีมดูแลผู้ป่วยมี
ความมั่นใจ ผู้ป่วยมีเกณฑ์ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทันเวลา 60 นาที และการดูแลระหว่างได้รับยามีความ
ปลอดภัย จึงควรมีการประเมินสมรรถนะและพัฒนาให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
และนำไปวางแผนประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆต่อไป และควร
นำผลการวิจัยไปทำการวิจัยและพัฒนา (Research and development) เกณฑ์สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ
เพื่อติดตามองค์ความรู้และความสามารถในระยะยาว