Page 231 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 231

E40


                    การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด้วยจิตสังคมบำบัด (MATRIX Model)

                                 เชิงรุกในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น


                                                           นางพรทิพย์ วงษ์หนองหอย และนายทวี พิมพันธ์…0.00000.
                                                                โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของยาเสพติด มีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติด

                  หากเกิดปัญหายาเสพติดของนักเรียนในสถานศึกษา จะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่เป็นกำลังของชาติใน
                  อนาคต เกิดความล้มเหลวทางการศึกษา ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
                  (ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ กรมสุขภาพจิต, 2561) ข้อมูลจากระบบการบำบัดรักษา
                  ยาเสพติดระดับประเทศไทย (บสต.)ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด 212,646

                  ราย ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพศชาย ร้อยละ 89.66 เมื่อพิจารณากลุ่มอายุของผู้เข้าบำบัดทั้งหมด ส่วนใหญ่กลุ่มอายุ
                  25 - 29 ปี ร้อยละ 18.24 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 20 - 24 ปี ร้อยละ 17.01 กลุ่มอายุ 30 - 34 ปี ร้อยละ
                  15.29 และกลุ่มอายุ 35 - 39 ปี ร้อยละ 13.78 ผู้เข้าบำบัดรักษาส่วนใหญ่เป็น ผู้เสพ ร้อยละ 63.61 รองลงมา

                  คือ ผู้ติด ร้อยละ 31.99 และผู้ใช้ ร้อยละ 4.40 ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า ร้อยละ 79.2
                  รองลงมาคือ ไอซ์ ร้อยละ 8.3 กัญชา ร้อยละ 4.4 และเฮโรอีน ร้อยละ 3.3 สำหรับยาเสพติดที่ต้องฝ้าระวัง คือ
                  ไอซ์ ที่พบการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น และเฮโรอีน ที่พบการแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในบางฟื้นที่ เช่น
                  กรุงเทพมหานคร และ จ.กาญจนบุรี นอกจากนี้ยังเริ่มพบการใช้ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
                  แบบผสมหลายชนิด (Drugs Cocktail) ในกลุ่มเด็กและเยาวชน (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ

                  ปราบปรามยาเสพติด:กระทรวงยุติธรรมปี 2564)
                         โรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นสถานศึกษาของเด็กในวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดซึ่งหากที่ตั้ง
                  ของโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงของการแพร่ระบาดยาเสพติดและอยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลหนองเรือ ยิ่งจะทําให้มี

                  ปัญหายาเสพติดมีความรุนแรงมากขึ้น โรงพยาบาลหนองเรือได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงนําร่องโดยการ
                  คัดกรองและนำรูปแบบการบำบัดรักษาผู้เสพสารเสพติด โดยนำเอารูปแบบจิตสังคมบำบัดการบําบัดยาเสพติด
                  ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งการบําบัดในโรงเรียนเป็นการช่วยเหลือนักเรียนที่ใช้ยาเสพติด ในขณะกําลังศึกษาอยู่
                  ให้มีโอกาสได้รับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่กระทบต่อเวลาเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ในการรักษาดี

                  ต้นทุนน้อยเพื่อให้นักเรียนสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติสุขโดยไม่พึ่งพายาเสพติด

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูเยาวชนผู้เสพสารเสพติดในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ
                  จิตสังคมบำบัด (MATRIX Model)

                  วิธีการศึกษา
                         รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยใช้แนวคิดของ Kemmis และ

                  Mctaggart 4 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การวางแผนการปฏิบัติงาน 2) การลงมือปฏิบัติตามแผน 3) การติดตาม
                  สังเกตการณ์และ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ระยะเวลาวิจัยดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ถึง
                  ตุลาคม 2566
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236