Page 232 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 232

E41


                         1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยด้วยเครื่องในการดำเนินการ 1) คู่มือการบำบัดยาเสพติด

                  รูปแบบจิตสังคมบำบัด (MATRIX Model) อ้างอิงกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 2) แบบประเมินการติด
                  สารเสพติดV2 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q, 9Q 4) แบบประเมินภาวะเครียด 5) แบบประเมิน
                  การติดนิโคติน 6) แบบประเมินการติดแอลกอฮอล์ 7) แบบประเมินเยี่ยมบ้านติดตามการบำบัด 8) ชุดตรวจ

                  หาสารเสพติดแอมเฟตามีนชนิดแถบ (Test Strip) 9) โปรแกรมระบบบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
                  ระดับประเทศ (บสต.)
                         2. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่ตรวจพบสารเสพติดที่เรียนในโรงเรียน
                  มัธยมศึกษา เขตอำเภอหนองเรือ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมตลาดใหญ่วิทยา จำนวน 10 คน และ
                  โรงเรียนจระเข้วิทยายน 15 คน ปีงบประมาณ 2565

                         3. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าจํานวน ร้อยละ

                  ผลการศึกษา
                         1. การพัฒนารูปแบบดําเนินการพัฒนารูปแบบโดยใช้วงจรวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ
                  Kemmis และ Mctaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

                         1) การวางแผนการปฏิบัติงาน (P : Plan) ประชุมเครือข่ายสุขภาพ นำโดยนายอำเภอหนองเรือ
                  ตำรวจ ครู สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบการบำบัดและ
                  การติดตามเยี่ยมบ้าน ประสานครูในโรงเรียน เป้าหมาย 2 โรงเรียน เพื่อเข้าให้ความรู้แก่เยาวชน และตรวจ
                  คัดกรองหาสารเสพติดในสถานศึกษา ได้จำนวนผู้ใช้สารเสพติดในสถานศึกษาเพื่อวางแผนการบำบัด คัดกรอง

                  โดยแบบประเมินการใช้สารเสพติด V2 (อ้างอิงกรมสุขภาพจิต) แยกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มสีเขียว (ได้ 2-3 คะแนน)
                  เพื่อการบำบัดใช้ระยะเวลา 4 เดือน โดยใช้สถานที่เป็นสถานศึกษา กลุ่มสีแดงบำบัดในสถานพยาบาลหรือส่งต่อ
                  โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นหรือโรงพยาบาลธัญรักษ์ขอนแก่น
                         2) การลงมือปฏิบัติตามแผน (A : Action) นัดหมายกลุ่มใช้สารเสพติดระยะเวลา 4 เดือน เพื่อเข้าร่วม

                  กิจกรรมโดย 2 เดือนแรก นัดหมายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันศุกร์ เดือนที่ 3 และ 4 นัดหมาย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
                  รวมนัดหมาย 12 ครั้ง ใช้สถานที่ห้องประชุมหรือแล้วแต่สถานศึกษาจัดให้ในสถานศึกษาให้การบำบัดโดย
                  บุคลากรสาธารณสุข โดยกิจกรรมการบำบัดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (MATRIX Model) จำนวน 12 ครั้ง

                  สุ่มตรวจปัสสาวะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นักเรียนที่ได้รับการบําบัดฟื้นฟูในทั้ง 2 โรงเรียนทั้งหมด 25 คน ผ่านการ
                  บำบัดครบโปรแกรมทุกคน ร้อยละ 100 หลังการบำบัดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยเครือข่ายสุขภาพ
                  ระยะเวลา 1 ปี ทุกคน ร้อยละ 100 พบว่าหยุดเสพในระยะ 3 เดือนหลังการบําบัด จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ
                  100 หยุดเสพได้ในระยะการติดตาม 1 ปีหลังการบําบัด จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบ
                  กับตัวชี้วัดการดําเนินงาน พบว่าผ่านเกณฑ์การดําเนินงานตามเครื่องชี้วัดคุณภาพกระทรวงสาธารณสุข

                         3) การติดตามสังเกตการณ์ (O : Observe) ติดตามผลการดําเนินงานและปัญหาอุปสรรคใน
                  การบําบัดฟื้นฟูนักเรียนกลุ่มเสพผ่านการประชุมคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นและผลักดันงานยาเสพติดเป็น
                  ประเด็นขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) นําเสนอผลการดําเนินงานที่

                  ผ่านมาให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตําบล(พชต.) บูรณาการทํางานผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทาง
                  ดูแลเป็นรายคนและลงเยี่ยมติดตามครอบครัวให้กำลังใจ และเสริมพลัง
                         4) การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (R : Reflex) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการพัฒนา
                  คุณภาพชีวิตระดับตําบล (พชต.) นําเสนอสถานการณ์ผลการดําเนินงานที่ผ่านมาได้มาตรการทางสังคมของ

                  ชุมชนนําสู่การขยายผลการบําบัดในโรงเรียนมัธยมทุกแห่งในอําเภอมีการบูรณาการการทํางานระหว่าง
                  ผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางดูแลเป็นรายคน อาทิการจดทะเบียนครอบครัวอุปถัมภ์ การขอทุนการศึกษา การขอ
                  อนุเคราะห์อุปกรณ์ด้านอาชีพ
   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237