Page 234 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 234

E43


                            CQI การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชรุนแรง SMI-V โรงพยาบาลชัยภูมิ


                          แพทย์หญิงชมนาด ศิริรัตน์, นางผกามาศ สุฐิติวนิช นางสาวโชติกา คณะแสวง และนางสาวอุษา สุขศรี

                                                                     โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                                                      (2)
                         สถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชปี 2565  ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในประเทศไทยชี้ว่ามี
                  ความจำเป็นในการจัดประเภทผู้ป่วยเหล่านี้เป็นกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง
                  (Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI-V) หมายถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางความคิด

                  อารมณ์หรือพฤติกรรม ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงหรือทำให้เกิดความทุพพลภาพรุนแรง จาก
                                                       (4)
                  ข้อมูล Dashboard-HDC กระทรวงสาธารณสุข  พบว่าผู้ป่วยจิตเวช SMI-V ที่เข้ารับการรักษา จำนวน 23,912 คน
                  ได้รับการติดตามและเฝ้าระวังตามเกณฑ์ จำนวนร้อยละ 26.6 เขตสุขภาพที่ 9 มีจำนวน 2,470 คน โดยจังหวัด
                  ชัยภูมิติดตามได้ 46 คน ดังนั้นโรงพยาบาลชัยภูมิได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชรุนแรง SMI-V
                  ตามเกณฑ์การประเมินแต่ปัญหายังคงอยู่ จากข้อมูล ปี 2565 พบว่าการป่วยกลับซ้ำภายใน 28 วัน มีอัตรา

                  สูงขึ้นติดต่อกันในช่วงร้อยละ 4 – 4.8 และก่อเหตุความรุนแรงในสังคมออกข่าว 4 ครั้ง (เผาบ้าน 1, ทำร้ายคน
                  ในชุมชน 2, บุกรุกโรงเรียน 1) ดังนั้นในฐานะโรงพยาบาลแม่ข่ายในจังหวัดชัยภูมิ พัฒนาการดูแลผู้ป่วยและ
                  ระบบบริการเพื่อส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง
                         2. ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำภายใน 28 วันของผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง

                  วิธีการศึกษา:
                         สถานที่ดำเนินงาน โรงพยาบาลชัยภูมิ โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริม
                  สุขภาพประจำตำบล จังหวัดชัยภูมิ ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2566 – 29 กุมภาพันธ์ 2567

                  การวิเคราะห์สาเหตุ (Root cause analysis)
                       กระบวนการ                     วิธีการ                            ปัญหาที่พบ
                   1.แพทย์รับผู้ป่วยเข้า การเตรียมความพร้อม :ด้านสถานที่และด้านผู้ป่วย -การเข้าถึงผู้ป่วยระยะ Acute ล่าช้า
                   รับการรักษา        และญาติ                               -แนวทางไม่ชัดเจน
                   2. Admit            ประเมินสภาพผู้ป่วย, การให้ข้อมูลการรักษา, -ประวัติพฤติกรรมความรุนแรง (SMI-V)
                                      ช่องทางประสานเจ้าหน้าที่และญาติและเตรียม
                                      ความพร้อมก่อนจำหน่าย
                   3.ประเมินการวิจัยฉัย  การซักประวัติ, ตรวจร่างกายและจิตใจและส่งผล -ช่องทางการประสานแนวทางการรักษาจาก
                                      ตรวจทางห้องปฏิบัติการ                 รพช. รพ.สต.
                   4.วางแผนการรักษา   วางแผนปฏิบัติตามแผนการรักษา, การรักษา
                                      แบบสหวิชาชีพ
                   5.การดูแลรักษา     ตามมาตรฐานวิชาชีพ และการดูแลร่วมแบบสห -เตียงเต็มนอนรอที่ รพช.หรือ Ward ฝ่ายกาย
                                      วิชาชีพ                               ใน รพ.ชัยภูมิ
                   6.การจำหน่าย       เตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย, ให้คำแนะนำการ -การดูแลต่อเนื่องหลังการรักษา: ไม่กินยา, ไม่
                                      ปฏิบัติตน, การนัดพบแพทย์ และการส่งเยี่ยมบ้าน  มีผู้ดูแล, ใช้ยาเสพติด, ไม่ทำงาน
                                                                            -ไม่มีผู้รับผิดชอบในการดูแล
                                                                            -หน่วยงานดูแลต่อเนื่องและฟื้นฟูสมรรถภาพ
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239