Page 241 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 241
E50
2.3. กำหนดนัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้พร้อมทั้งสองฝ่าย หรือในกรณีที่ต้องการข้อมูลจำเป็นเร่งด่วน
3. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านตามกำหนดวันนัดหมาย เพื่อประเมินและรวบรวมข้อมูลและช่วยเหลือในเบื้องต้น
4. การวางแผนการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพ
5. สรุปผลการเยี่ยมบ้านในแต่ละครั้ง และวางแผนการเยี่ยมต่อเนื่องร่วมกับทีม การนัดหมายการ
เยี่ยมครั้งต่อไป
ผลการศึกษา
1. ผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบกลับเป็นซ้ำมาจากปัจจัยหลักคือเรื่องการดูแลรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
หยุดยาเอง ไม่ยอมรับอาการป่วย และฤทธิ์ข้างเคียงของยา ปัจจัยสนับสนุนคือไม่มีผู้ดูแล ผู้ดูแลขาดศักยภาพ
ปัญหาเศรษฐกิจ เดินทางลำบาก
2. การเชื่อมประสานการดูแลผู้ป่วยในชุมชนไม่เป็นระบบที่ชัดเจน ผู้ป่วย ผู้ดูแล อสม.ผู้นำชุมชน
ขาดความรู้และไม่มีแนวทางในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยโรคจิตเภท
3. กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด รพ.ชัยนาทนเรนทรได้พัฒนารูปแบบ
3.1 จัดทำแนวทางดำเนินการติดตามเยี่ยมบ้านและส่งต่อผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพใน รพ.
และพื้นที่ในชุมชน และหน่วยงานระดับจังหวัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามอาการและดูแลช่วยเหลือ
แบบองค์รวม
3.2. กรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลอื่นๆ เช่น รพ.จิตเวช
นครสวรรค์หลังจากอาการทุเลาส่งกลับพื้นที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลติดตามต่อเนื่อง
3.3. จัดอบรม ให้ความรู้เรื่องการประเมินคัดกรองและดูแลสุขภาพจิต กับเจ้าหน้าที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ / อาสาสมัครหมู่บ้าน โดยมีแบบคัดกรองเบื้องต้นในการประเมินอาการทางจิตเวช
สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทในชุมชนและทราบถึงแนวทางการดูแลช่วยเหลือ
อภิปรายผล
การดำเนินงานติดตามเยี่ยมบ้าน (ส่องบ้าน) ในผู้ป่วยโรคจิตเภททุกรายที่มีความเสี่ยงต่อการกำเริบ
กลับเป็นซ้ำ ทำให้ทราบถึงปัญหาทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล ชุมชนร่วมรับรู้และเข้ามามีส่วนร่วม ในรายที่การ
เดินทางยุ่งยากลำบาก จะมีแพทย์และทีมเข้าไปตรวจประเมินอาการและติดตามดูแลต่อโดยเจ้าหน้าที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (ส่งยา) กรณีผู้ป่วยอาการกำเริบรุนแรงผู้ดูแลขาดศักยภาพมีความท้อและชุมชน
หวาดกลัว เมื่อทีมเจ้าหน้าที่เปิดเวทีแลกเปลี่ยนช่วยกันทบทวนปัญหา ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามา
ช่วยสนับสนุนดูแล (ส่งใจ) เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว
สรุปและข้อเสนอแนะ
การดำเนินงานติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วยและ
ผู้ดูแลในการพาผู้ป่วยไปรับบริการที่โรงพยาบาลเนื่องจากในบางพื้นที่ ไม่มีรถโดยสารประจำทาง โดยประสาน
หน่วยงานในพื้นที่รับส่ง ลดภาวะอารมณ์ความตึงเครียดของผู้ป่วยขณะรอตรวจจากความแออัดของผู้จำนวน
ผู้มารับบริการ ผู้ป่วยที่รับยาต่อที่ รพ.สต. ใกล้บ้านได้รับการประเมินติดตามอาการต่อเนื่อง ที่สำคัญได้ติดตาม
อาการผู้ป่วยจริงๆไม่ใช่ญาติมารับยาแทน ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ได้รับการเข้าถึง
บริการที่มากขึ้นลดปัญหาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ