Page 243 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 243

F1


                    การพัฒนาแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตของหอผู้ป่วยเด็กในกลุ่ม

                      งานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น  (Pediatric Early Warning Sign, PEWS)


                                                          นางวิลาวัณย์ จันโทริ, นางสาวสดุดี บุญมี, นายภิเษก ยิ้มแย้ม,

                                            นางเบ็ญจวรรณ เมืองเก่า, นางรุ้งลาวรรณ ศุภิรัตนกุล, นางสาวอังคณา ทูลพุฒ,
                                                              นางสาวชยุตรา ด่านลี, นางนิศานาถ ชีระพันธุ์  และคณะ
                                                               โรงพยาบาลขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                               ประเภท วิชาการ
                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาพยาบาล จากข้อมูลความเสี่ยงที่สำคัญหอผู้ป่วยเด็ก
                  โรงพยาบาลขอนแก่น ปีงบประมาณ 2563 พบอุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned

                  ET-tube) การช่วยฟื้นคืนชีพโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned CPR) และการย้ายหอผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้วางแผน
                  (Unplanned ICU) จำนวน 12 ครั้ง (ข้อมูลจากโปรแกรม HRMS โรงพยาบาลขอนแก่น, 2563) จากการทำ
                  การทบทวนสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis, RCA) พบว่าผู้ป่วยมักจะมีสัญญาณชีพผิดปกติก่อนที่จะ
                  มีภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่ไม่มีการรายงานแพทย์เพื่อร่วมประเมินอาการและให้การรักษา ไม่เพิ่มความถี่

                  ในการติดตามเฝ้าระวังสัญญาณชีพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพยาบาลมีการประเมินอาการทางคลินิกเพื่อระบุความเสี่ยง
                  ต่ออาการเปลี่ยนแปลงในทางที่ทรุดลงของผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ในการปฏิบัติที่ผ่านมา การกำหนดความถี่
                  ในการติดตามสัญญาณชีพขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และพยาบาลไม่มีเครื่องมือที่มีมาตรฐานที่ใช้เป็นหลัก
                  ในการประเมินที่เหมือนกันทุกคน ส่วนใหญ่ใช้การประเมินอาการแสดงและความดันโลหิตเป็นหลักในการพิจารณา

                  ซึ่งไม่ครอบคลุมสัญญาณชีพอื่น ดังนั้น การกำหนดแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตใน
                  ผู้ป่วยเด็กจึงมีความสำคัญ เป็นแนวทางให้พยาบาลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่มีแนวโน้มอาการทรุดลงให้ปลอดภัย
                  และมีประสิทธิภาพ

                         การประเมินอาการเปลี่ยนแปลงคือจึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญ ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะวิกฤต
                  แผนกกุมารเวชกรรม จึงพัฒนางานร่วมกับกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
                  นำใช้แบบประเมินเฝ้าระวังภาวะsepsis มีชื่อว่า (Pediatric Early Warning Sign, PEWS) แต่การนำใช้ยังพบ
                  ปัญหา คือ ไม่สามารถดักจับอาการและรายงานแพทย์ได้ทันเวลา เนื่องจากยังขาดความเข้าใจในแบบประเมิน
                  และไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของภาวะ Sepsis และแบบประเมินที่มีหลายกลุ่มอายุ กลุ่มงานการพยาบาล

                  ผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น จึงได้พัฒนาแนวทางในการประเมินผู้ป่วย เฝ้าระวังสัญญาณเตือน
                  ก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต และดูแลผู้ป่วยเด็กตามช่วงอายุ เริ่มตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน พัฒนามารูปแบบ
                  มาทั้งหมด 6 ครั้งจนได้สัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ พยาบาลสามารถใช้แบบประเมิน

                  ในการเฝ้าระวังภาวะ Sepsis ในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินผู้ป่วย เฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต และดูแลผู้ป่วย
                  เด็กตามช่วงอายุ ตามขั้นตอนเมื่อเกิดสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต
                  วิธีการศึกษา

                         ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดที่จะจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยเด็ก
                  ตามช่วงอายุ โดยใช้วงจรคุณภาพของเด็มมิ่ง ดังนี้
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248