Page 244 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 244

F2


                           1. ขั้นวางแผน (Plan) ทบทวนเวชระเบียนและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูล ตั้งเป้าหมาย

                  การดำเนินการ และกำหนดแนวทางเฝ้าระวังฯ โดยการประชุมกลุ่มร่วมกับบุคลากรพยาบาลในหน่วยงาน
                  นำแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS ที่พัฒนาขึ้น ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน
                  คือ กุมารแพทย์ อาจารย์พยาบาลสาขาการพยาบาลเด็ก และผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาล

                  กุมารเวชศาสตร์ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความครอบคลุมของเนื้อหาสาระ ปรับปรุงแก้ไขตาม
                  ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
                           2. ขั้นปฏิบัติ (Do) นำแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS ที่ปรับปรุงแก้ไข
                  ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ มาให้พยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานทดลองใช้ ประเมินความยากง่าย
                  และความไวของแนวทาง

                               3. ขั้นตรวจสอบ (Check) นำแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS
                  ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ติดตามการปฏิบัติตามแนวทาง ปัญหา อุปสรรค
                  และผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องทุกเดือน วิเคราะห์สรุปผลลัพธ์ที่ได้

                               4. ขั้นปรับปรุง (Act) นำเสนอผลลัพธ์ของการนำใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ต่อที่ประชุมกลุ่มงาน
                  การพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ทบทวนปัจจัยแห่งความสำเร็จ และสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป
                  สรุปปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและวางแนวทางการแก้ไขอย่างเหมาะสม สรุปแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อน
                  เข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS และประกาศใช้เป็นแนวทางการประเมินผู้ป่วยเด็ก

                  ผลการศึกษา

                         1. ได้แนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS เพื่อให้พยาบาลในหอผู้ป่วยใน
                  กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยเด็ก
                         2. ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการเปลี่ยนแปลง ได้รับการประเมินอย่างรวดเร็ว การจัดการอย่างเหมาะสมและ
                  มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย

                  อภิปรายผล

                         1.อัตราความถูกต้องของการประเมินคะแนนแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต
                  PEWS ของพยาบาล เท่ากับ ร้อยละ 100
                            2. อัตราการปฏิบัติตามแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS ของพยาบาล
                  เท่ากับ ร้อยละ 100

                            3.   อุบัติการณ์ Unplanned ET-tube, Unplanned CPR และ Unplanned ICU ที่เกิดจากการเฝ้าระวัง
                  ไม่เหมาะสม เท่ากับ 0





                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1. การศึกษานี้ใช้เป็นแนวทางเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต PEWS ในโรงพยาบาลขอนแก่น
                  ควรมีการขยายผลในระดับเครือข่ายของจังหวัดขอนแก่นและเขตสุขภาพที่ 7  เริ่มตั้งแต่ตรวจพบผู้ป่วยมีอาการ

                  ของภาวะติดเชื้อ การดูแลรักษาเบื้องต้น การส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า การดูแลรักษา
                  อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาอย่างครบวงจร
                         2. ควรมีการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในเบื้องต้น ควรมีการศึกษา

                  ผลลัพธ์ในระยะยาว และศึกษาผลลัพธ์เพิ่มเติมในเรื่อง ภาวะแทรกซ้อน ระยะวันนอนรักษาในโรงพยาบาล
                  และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249