Page 238 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 238

E47



                                                             NZ 2       2
                                                   n =          α/2
                                                                          2
                                                          2
                                                         e  (N−1)+Z  2     
                                                                     α/2

                                                                             2
                                                     (106 x 1.96)(2.24 )
                                          =
                                                   2
                                                                                      2
                                             0.05  (106 − 1) + 1.96 x 2.24
                                                                                n   = 103 คน
                         การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการเรียง
                  รายชื่อตามรายชื่อของกลุ่มตัวอย่าง

                  การวิเคราะห์ข้อมูล

                         สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยใช้สถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่(Frequency)
                  และร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation, SD) ค่ามัธยฐาน
                  (Median) ค่าสูงสุด (Maximum) และค่าต่ำสุด (Minimum) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard
                  deviation, SD) สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์

                  สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation) กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05

                  ผลการศึกษา
                         จากการศึกษาความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี
                  ความรู้ระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 60.2 กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 68.9
                  กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 71.8 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับ

                  พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย SMI-V พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความ
                  เสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย SMI-V มีค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ
                  0.012 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation) (r)) เท่ากับ 0.245 มีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูง

                  และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความรู้ กับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความ
                  เสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง พบว่า ความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง มี
                  ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง มีค่า Sig. (2-tailed)
                  เท่ากับ 0.000 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation) (r)) เท่ากับ 0.402 มีค่าความสัมพันธ์ใน
                  ระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


                  อภิปรายผล
                         ความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับ
                  ปานกลางมากที่สุดร้อยละ 60.2 ซึ่งความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการใช้ข้อเท็จจริง (Fact) หรือ
                  เนื้อหาด้านความรู้ การหยั่งรู้ การเห็น หรือความสามารถเชื่อมโยงความคิดเข้ากับเหตุการณ์ได้ (ทิศนา แขม
                  มณี, 2545) ทัศนคติการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติ

                  ระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 68.9 ซึ่งเกิดจากความรู้สึก ความคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นผลมา
                  จากประสบการณ์ หรือสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกและความคิดดังกล่าวเป็นไปในทางชอบหรือไม่ชอบ เห็นด้วย
                  หรือไม่เห็นด้วย อันมีแนวโน้มที่จะให้บุคคลแสดงปฏิกิริยา และการกระทาต่อสิ่งนั้นๆ ทั้งในทางสนับสนุนหรือ

                  ต่อต้าน (ณชพัฒน์ อัศวรัชชนันท์, 2554) พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความ
                  รุนแรง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 71.8 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ลำเจียก
                  กำธร (22) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน ผลวิจัยพบว่า
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243