Page 240 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 240
E49
การพัฒนารูปแบบการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทเพื่อลดปัญหาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ
เขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท (ส่องบ้าน ส่งยา ส่งใจ)
นางจุฑามาส โพธิ์หลำ
โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
โรคจิตเภท อาการของโรคจิตเภทแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ มีความผิดปกติของกระบวนการคิด
การรับรู้ อารมณ์และการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลให้มีปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
รวมทั้งมีปัญหาในการตัดสินใจและต้องพึ่งพิงผู้อื่น การกำเริบของโรคทางจิตเวชเกิดขึ้นบ่อยที่สุดจากการขาดยา
ผู้ป่วยมักไม่อยากกินยาเนื่องจากผลข้างเคียงของยาหรือเข้าใจผิดคิดว่าอาการดีขึ้นแล้วน่าจะหยุดยาได้เอง
ผู้ป่วยจิตเภทมีความบกพร่องในการดูแลตนเองบทบาทสำคัญในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเภทให้สามารถ
ดำเนินชีวิตอยู่ได้ นั่นคือผู้ดูแลต้องมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทของตนเองในขณะที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอยู่ที่
บ้าน รวมทั้งต้องเรียนรู้วิธีการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยจิตเภทซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้ความ
อดทนในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข
จากสถิติผู้รับบริการที่กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรพบผู้ป่วยโรคจิตเภท
เป็นอันดับ 3 ของโรคที่มีผู้รับบริการมากที่สุดในปี 2563 – 2566 จำนวน 560 ราย, 527 ราย, 525 ราย และ
537 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.48 , 8.68 , 8.59 และ 8.61 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ป่วยโรค
จิตเภทที่ใช้สารเสพติด ยาบ้า กัญชา ในปี 2564-2566 คิดเป็นร้อยละ 3.06 , 3.44 และ 5.71 ตามลำดับ
พบผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่ทำให้อาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ เป็นอันตรายต่อครอบครัว และชุมชน จำนวน 25 ราย
พยาบาลจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทมีภาวะเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง
(SMI V) เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการกำเริบกลับเป็นซ้ำ ลดภาระผู้ดูแล และที่
สำคัญที่สุดผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาและลดปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทเกิดอาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ
2 เพื่อพัฒนาแนวทางการติดตามดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
3. เพื่อประเมินผลการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทเพื่อลดปัญหาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ
วิธีการศึกษา
1.รวบรวมรายชื่อผู้ป่วยโรคจิตเภทผู้ผ่านการตรวจประเมินคัดกรองและความเสี่ยงการกำเริบกลับ
เป็นซ้ำ
2.วางแผนการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ /อสม/ผู้นำชุมชน/เทศบาล
ตำบล เขตอำเภอเมือง
2.1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง สมาชิกในครอบครัวว่าผู้ป่วยอาศัย
อยู่กับใคร อยู่อย่างไร หากไปแล้วจะพบใครบ้าง เป็นการเตรียมข้อมูลความพร้อมของผู้ดูแล
2.2 เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร แบบประเมิน คัดกรองเบื้องต้น