Page 239 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 239

E48



                  พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้านของผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมการดูแลที่ปฏิบัติมากที่สุด
                  คือ การดูแลด้านจิตสังคม (M=3.22,SD= . 26) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ประสบการณ์
                  การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย SMI-V มี
                  ค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ 0.012 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation) (r)) เท่ากับ 0.245 มี
                  ค่าความสัมพันธ์ในระดับสูง ซึ่งจากทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ของเดวิด เอ. โคล์บ (David A. Kolb)

                  กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) คือกระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจต
                  คติด้วยการนำเอา ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาบูรณาการเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ ขึ้น (นัยนา ดอรมาร, 2563)
                  ความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

                  การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง มีค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ 0.000 โดยมีค่า
                  สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation) (r)) เท่ากับ 0.402 ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแนวทางการดูแล
                  ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SeriousMental Illness With High Risk to Violence)
                  สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาลจิตเวช ในสังกัด (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2563) ที่กล่าวเกี่ยวกับ

                  เกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยจิตเวช ทักษะการจัดการและกลยุทธ์การป้องกัน และการเตรียมข้อมูลกรณีส่งต่อ
                  ผู้ป่วยทั้งสู่ชุมชนและส่งต่อไปรับการรักษาต่อเนื่อง ซึ่งผู้นำชุมชน อาสมสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ
                  ประชาชน ต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์
                         1. เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความ
                  รุนแรงร่วมกันและเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                         2. เพื่อนำไปพัฒนาความรู้ในการดูแลผู้ป่วย SMI-V ให้ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบ

                         3. ส่งเสริมองค์ความรู้ในผู้ดูแลผู้ป่วย SMIV เพื่อจะส่งเสริมการดูและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบ
                         ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
                         1. ควรมีการศึกษารูปแบบการดูและผู้ป่วย SMI-V โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

                         2. ควรมีการศึกษาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วย SMI-V โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244