Page 237 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 237

E46


                             ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วย SMI-V ของภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชุน

                                      ในพื้นที่ตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร


                                                                                            นางสาวนัฐมน ใจสุข

                                            โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสุขเกษม จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหา

                         จากข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) บนระบบ
                  คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การเข้าถึงบริการสะสมตั้งแต่ปี 2559 ถึงปี 2565 จำนวน
                  27,518 คน โดยผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่ก่อความรุนแรง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยพบผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดก่อ

                  ความรุนแรง ในปี 2563-2565 จำนวน 1,463 คน และ3,527 คน ตามลำดับ สถานการณ์ 3 ปี ย้อนหลังที่ผ่าน
                  มาน ในปี 2563 -2566 จำนวนผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลกุดชุม ที่ก่อความรุนแรง ผู้ป่วย SMI-V จำนวน 20,
                  18, 14 และ 26 คน ผู้ป่วยที่ก่อความรุนแรงเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติด ยาบ้า 19 ราย มากที่สุด รองลงมา
                  ได้แก่ ใช้สุรา 12 คน และผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการรักษา จำนวน 8 คน ผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุ 7 คน ขาดยา

                  7 คน มีอาการกำเริบและก่อความรุนแรงซ้ำ 5 คน ในปัจจุบันพบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นมากกว่าทุกปี
                  (โรงพยาบาลกุดชุม, 2566) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสุขเกษม มีเขตรับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน
                  พบว่ามีผู้ป่วยอยู่ในระบบการรักษา ทั้งหมด 11 คน ไม่เข้ารับการรักษาต่อเนื่อง 8 คน ปฏิเสธการรักษา 2 คน
                  ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อกลับไปสู่ชุมชน ผู้ป่วยหรือญาติไม่เห็นความสำคัญในการรักษาอย่างต่อเนื่อง คิดว่ารักษาหาย

                  แล้วจึงไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ขาดยา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะวิกฤตทางสุขภาพจิต และกลับมารักษาซ้ำ
                  ด้วยโรคเดิม
                         การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental Illness with High
                  Risk to Violence : SMI-V) มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึง

                  การปฏิบัติ โดยภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ ทีมสุขภาพ ผู้นำชุมชน
                  อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ครอบครัวและญาติผู้ดูแล ที่จะร่วมมือกัน ชุมชนหรือภาคีเครือข่ายต้อง
                  พร้อมให้การสนับสนุนครอบครัวร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงสนใจ

                  ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ผู้ป่วย SMI-V ของภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน ในพื้นที่ตำบลโนนเปือย
                  อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การดูแลผู้ป่วย SMI-V ของภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน
                         2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย

                  SMI-V ของภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน ในพื้นที่ตำบลโนนเปือย อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
                  วิธีการศึกษา

                         1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study)
                         2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อปพร. อบต.
                  อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.))  ครอบครัวและญาติผู้ดูแล และกลุ่มประชาชนจิตอาสา จำนวน 106 คน


                  จากสูตร
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242