Page 247 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 247
F5
การพัฒนาแนวทางปฏิบัติสำหรับดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอด
เพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
นางณภัทร สุนทรลิ้มศิริ
โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
เป้าหมายสำคัญของการตั้งครรภ์และการคลอดคือ ความปลอดภัยของมารดาและทารกในครรภ์
ซึ่งภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างคลอดและเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อย
ที่สุด เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการในทารก ทำให้เกิดภาวะเลือดขาดออกซิเจน มีคาร์บอนไดออกไซด์
ในเลือดสูง เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ภายหลังคลอดแล้วหลายๆนาที ส่งผลให้อวัยวะต่างๆภายในร่างกาย มีเลือด
และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่พอเป็นเหตุให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆตายหรือเสียหน้าที่ มีผลกระทบต่อ
การเจริญเติบโต พัฒนาการทางสมองและความพิการของทารก นอกจากนี้ในกรณีที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
แต่รอดชีวิตไปได้จะมีความผิดปกติหรือความพิการตามมา เช่น โรคลมชัก ปัญญาอ่อน สมองพิการ และ
การเรียนรู้บกพร่อง มีผลกระทบต่อจิตใจบิดา มารดาและคนในครอบครัวสูง ทำให้เกิดการรักษาที่ยาวนาน
ต่อเนื่องและเป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อองค์กร มีโอกาสเกิด
การฟ้องร้องสูง สถิติข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ในทารกแรกเกิดเท่ากับ 16.5 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ และจังหวัดบุรีรัมย์ พบอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ในทารกแรกเกิดเท่ากับ 15.9 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ
โรงพยาบาลประโคนชัย เป็นโรงพยาบาล M2 ขนาด 120 เตียงและเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายรับส่งต่อ
งานอนามัยแม่และเด็ก มีผู้คลอดเฉลี่ย 83 ราย/เดือน จากข้อมูลปี 2563-2565 พบว่า อัตราการเกิดภาวะ
ขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเท่ากับ 35.5, 29.8 และ32.6 ต่อ1000 การเกิดมีชีพ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านทารก ได้แก่ กลุ่มทารกคลอดก่อนกำหนดที่เพิ่มขึ้น ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
ทารกคลอดติดไหล่ และกลุ่มที่มีภาวะขาดออกซิเจนในครรภ์ รองลงมาคือปัจจัยด้านการคลอด ได้แก่ การคลอด
ในระยะที่ 2 ยาวนาน การใช้หัตถการในการช่วยคลอด รวมทั้งปัจจัยด้านมารดาจากภาวะครรภ์เป็นพิษระดับ
รุนแรงและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดที่ 2 ในช่วงต้นปี พ.ศ.2566 พบปัญหาทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
รุนแรงส่งต่อโรงพยาบาลบุรีรัมย์และรักษาตัวในหน่วยการดูแลผู้ป่วยหนัก 8 ราย จากกลุ่มทารกคลอด
ก่อนกำหนด 3 ราย จากการใช้หัตถการในการช่วยคลอด 1 ราย จากการไม่ปฏิบัติไปตามมาตรฐาน
การพยาบาลและขาดการเฝ้าระวังและการประเมินซ้ำ 1 ราย จากหญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการช้าทำให้ประเมิน
ภาวะเสี่ยงได้ไม่ครอบคลุม 1 ราย และความล่าช้าจากกระบวนการในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดและ
การปฏิบัติไม่ถูกต้อง 2 ราย ส่งผลให้ทารกเป็นโรคลมชักต้องรักษาที่ยาวนานต่อเนื่องและเป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่าย
ในครอบครัว 1 ราย และเกิดการร้องเรียน 1 ราย
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติสำหรับดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจน
ในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์