Page 248 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 248

F6


                  วิธีการศึกษา

                             เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ ดังนี้ วงรอบที่ 1 คือ 1. การวางแผน (Planning)
                  จัดประชุม ทบทวนเหตุการณ์ วิเคราะห์หาสาเหตุที่พบในหน่วยงานและที่ถูกฟ้องร้อง วิเคราะห์กระบวนการหลัก
                  ตั้งแต่การรับใหม่ การดูแลในระยะรอคลอด ระยะคลอดและระยะ2 ชั่วโมงหลังคลอด ควบคู่กับกิจกรรมคู่ขนาน

                  ได้แก่ การประเมิน/การดูแล case ที่เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง Competency ของบุคลากร หาจุดแข็งและจุดอ่อน
                  ที่ต้องแก้ไข นำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงพยาบาลแม่ข่ายบุรีรัมย์มาประยุกต์ ใช้เป็นรูปแบบใหม่
                  ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล กำหนดแนวทางปฏิบัติและการนำไปปฏิบัติการดูแลในห้องคลอด
                  ประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติให้พยาบาลทุกคนรับทราบเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและประเมินได้ครบถ้วน
                  วางแผนนิเทศทางการพยาบาล 2. การปฏิบัติ (Acting) ดำเนินการโดย 1) บุคลากร มีการมีเพิ่มพูนสมรรถนะ

                  และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดโดยการส่งบุคลากรอบรมเชิงปฏิบัติการในการช่วยฟื้นคืนชีพ
                  ทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลแม่ข่ายบุรีรัมย์ การใช้อุปกรณ์ช่วยกู้ชีพที่สำคัญ เพิ่มทักษะและสมรรถนะการดูแล
                  ผู้คลอดทุกระยะ การทำคลอดฉุกเฉิน และการดูแลผู้คลอดในภาวะวิกฤต เช่น ภาวะ fetal non-reassuring ,

                  fetal distress พัฒนารูปแบบการรายงานแพทย์ด้วยการใช้แนวทาง SBAR สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
                  โดยใช้ระบบ Nurse case manager พัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงจากข้อร้องเรียนหรือเหตุการณ์
                  ที่ไม่พึงประสงค์หรืออุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น 2) แนวทางปฏิบัติ จัดทำและปรับปรุงแก้ไขแนวทางปฏิบัติสำหรับดูแล
                  หญิงตั้งครรภ์เดิมดังนี้ Clinical practice guideline ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะ

                  ขาดออกซิเจน เช่น GDM HT IUGR และโรคทางอายุรกรรม มีเกณฑ์ในการส่งต่อให้กับลูกข่ายตั้งแต่ในขณะ
                  ฝากครรภ์เพื่อป้องกันการส่งต่อแบบฉุกเฉิน มีกระบวนการเตรียมคลอดโดยให้ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับ
                  ภาวะเสี่ยง อาการผิดปกติที่ต้องมาโรงพยาบาล การเข้าถึงบริการ การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
                  การฟัง FHS กลุ่มเสี่ยงสูง จัดทำ Early warning sign Birth Asphyxia ที่ชัดเจน มีแนวทาง Early Notify

                  แพทย์ให้เร็วขึ้นเพื่อป้องกันการคลอดล่าช้า ปรับแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ให้ยาเร่งคลอดและมีภาวะ
                  EFM Abnormal ให้มีการสิ้นสุดการคลอดให้เร็วขึ้น มีระบบ Fast track fetal non-reassuring , fetal
                  distress และ Fast track Refer ปรับเกณฑ์การรายงานและการรับเด็กของกุมารแพทย์ ปรับแนวทางปฏิบัติ
                  ในการดูแลทารกกลุ่มเสี่ยงสูง มีการปรับ Zoning ทารกแรกเกิดเพื่อการเข้าถึงที่รวดเร็วและปลอดภัย

                  จัดทำกล่องกู้ชีพช่วยชีวิตทารก 3. การสังเกตผลการปฏิบัติ/การประเมินผล (Observing) โดยการสังเกต
                  และรวบรวมข้อมูล หาจุดบกพร่องที่ต้องพัฒนาแก้ไขปรับปรุง 4. การสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflecting)
                  หลังจากนั้นนำการสะท้อนผลการปฏิบัติจากการปฏิบัติการในวงรอบที่ 1 เข้าสู่วงรอบที่ 2 โดยอาศัยวงจร

                  PAOR เพื่อสรุปผลการศึกษา ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึง เดือนกันยายน 2566
                  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลประโคนชัยจำนวน 571 คน
                  และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูล


                  ผลการศึกษา

                            พบว่า ภายหลังการใช้แนวปฏิบัติสำหรับดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะ
                  ขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่พัฒนาขึ้นในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
                  ในทารกแรกเกิดลดลงจากเดิม 32.6 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ เป็น 22.8 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ ทารกแรกเกิด
                  ที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงจำนวน 2 รายที่ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลบุรีรัมย์และรักษาตัวในหน่วยการดูแล

                  ผู้ป่วยหนักไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงและไม่พบอุบัติการณ์ ข้อร้องเรียน
                  พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดมากขึ้น ร้อยละ 90 ส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
                  ในทารกแรกเกิดที่มาจากการกระบวนการพยาบาล ลดลงเป็น 0
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253