Page 249 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 249

F7


                  อภิปรายผล

                             การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลนั้น การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นหัวใจสำคัญ
                  ของการพัฒนาโดยเริ่มจากการจัดประชุมวิชาการของหน่วยงาน ถึงปัญหาที่พบในการปฏิบัติและแนวทาง
                  การแก้ไข เป็นการสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นความสำคัญที่จะต้องร่วมกันแก้ไข เมื่อทุกคนเห็น

                  ความสำคัญ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและเลือกวิธีการปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือมาใช้ในแนวปฏิบัติ ประกอบกับ
                  เมื่อมีการนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์และความรู้ใหม่ๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทุกคนมีความรู้และมีความคิดที่จะนำ
                  แนวปฏิบัติมาใช้ในหน่วยงานให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าทุกคนให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วม
                  ในการประเมินและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับบริบท

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         การพัฒนาแนวทางปฏิบัติสำหรับดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจน
                  ในทารกแรกเกิดที่ชัดเจน ช่วยให้กระบวนการพยาบาลในทุกระยะของการคลอดมีความครอบคลุมมากขึ้น
                  และลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงได้ ทำให้พยาบาลมีแนวปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันในหน่วยงาน และการมีการนิเทศ
                  ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลอุบัติการณ์ความเสี่ยงลดลง แต่อย่างไรก็ตาม แนวทาง

                  ปฏิบัติอาจต้องมีการปรับเพื่อให้มีความง่ายต่อการนำไปใช้ ทั้งเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิบัติ

                  ข้อเสนอแนะ
                         ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาถึงความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อการใช้แนวทางปฏิบัติสำหรับดูแล
                  หญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอดเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254