Page 250 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 250

F8


                      ผลของการพัฒนา “Raman Labour Safety Model”ต่อการเกิดภาวะคลอดติดไหล่
                                                และภาวะไหล่หักในทารกแรกเกิด



                                                                                             นางสาวรานีย์  ยุมิง
                                                                     โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ภาวะคลอดติดไหล่ (Shoulder dystocia) คือ ภาวะที่ศีรษะของทารกคลอดแล้วแต่ไหล่ยังไม่คลอด

                  ไม่ว่าจะเป็นไหล่หน้า ไหล่หลังหรือทั้ง 2 ข้าง นานมากกว่า 60 วินาที จำเป็นต้องใช้กระบวนการช่วยคลอดไหล่
                  หรือหัตถการอื่นๆเพื่อช่วยคลอดไหล่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมที่มีความสำคัญสำหรับผู้ทำคลอด
                  ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หรือพยาบาล จากการศึกษาทั่วโลก พบว่า ในปี 1964-2015 มีอุบัติการณ์การคลอดติดไหล่

                  ประมาณร้อยละ 0.6-1.4 (Chauhan SP,2015) ส่วนในประเทศไทยพบประมาณร้อยละ 1.2-1.8  ของการคลอด
                  ทางช่องคลอดทั้งหมด (ศิริกนก, 2556) และพบว่าอุบัติการณ์การเกิดภาวะคลอดไหล่หักทั่วโลกอยู่ในช่วง
                  ประมาณร้อยละ  0.01-16 (Sokol RJ, 2014) ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ในช่วง 0.16 – 18.42 ของการคลอด
                  ติดไหล่ทั้งหมด และจากการทบทวนข้อมูลตัวชี้วัดของหน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลรามัน ตั้งแต่

                  ปีงบประมาณ 2558 – 2562 พบว่า เกิดอุบัติการณ์การคลอดติดไหล่ร้อยละ 7.19, 4.38. 6.12,7.38 และ 6.78
                  ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ ตามลำดับ และเกิดอุบัติการณ์การคลอดไหล่หักจากการคลอดติดไหล่ร้อยละ 3.59,
                  3.62, 3.67, 2.46 และ 4.07 ตามลำดับ จึงได้วิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคลอดติดไหล่
                  พบว่า เกิดจากแผนกฝากครรภ์ขาดการส่งต่อข้อมูลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดติดไหล่มาให้หน่วยงาน

                  สูติกรรม ร้อยละ 23.08 การคาดคะเนน้ำหนักทารกคลาดเคลื่อนจากการวัดเทปหน้าท้อง ร้อยละ 23.08
                  จากการ Ultrasound คลาดเคลื่อนมากกว่า 500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 30.77 เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลการคะเนน้ำหนัก
                  ของทารกในครรภ์ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์มาวางแผนการดูแลต่อ ร้อยละ 15.38  และเจ้าหน้าที่ขาดทักษะ
                  และความพร้อมของทีมในการช่วยคลอดติดไหล่คิดเป็นร้อยละ  7.69

                         จากสาเหตุและปัจจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่าอาจป้องกันการเกิดภาวะคลอดติดไหล่ได้ หากมีการประเมิน
                  และวางแผนการดูแลที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งต่อมารดาและทารก
                  ในมารดา เช่น ภาวะมดลูกแตก มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ภาวะตกเลือดหลังคลอด ช่องทางคลอดฉีกขาด และทารก
                  เช่น ทารกขาดออกซิเจน เสียชีวิต ไหล่หัก และแขนพิการ (Erb’s palsy)  เป็นต้น

                         ดังนั้นการป้องกันภาวะทารกคลอดติดไหล่ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลรามัน
                  จึงได้มีการนำข้อมูลมาประชุมปรึกษาร่วมกับทีมการดูแลรักษาด้านคลินิก  เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์
                  ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ ระยะรอคลอด ระยะคลอด และการดูแลกรณีเกิดภาวะไหล่หักหลังคลอด ทั้งนี้เพื่อป้องกัน
                  อันตรายที่อาจขึ้นได้ต่อมารดาและทารก และป้องกันความเสี่ยงฟ้องร้อง ซึ่งนำมาสู่ความเสื่อมเสียชื่อเสียง

                  ของโรงพยาบาล

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาสถานการณ์คลอดติดไหล่ และการคลอดไหล่หักในทารกแรกเกิด
                          2. เพื่อสร้างและพัฒนา“Raman Labour Safety Model” เพื่อป้องกันภาวะคลอดติดไหล่ และการคลอด
                  ไหล่หักในทารกแรกเกิด
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255