Page 252 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 252
F10
-จำนวนทารกแรกเกิดที่เกิดไหล่หัก (คน) 2 0
-อัตราร้อยละการเกิดภาวะคลอดติดไหล่ในทารกแรกเกิดต่อ 1,000 5.49 0
การเกิดมีชีพ
-จำนวนทารกเกิดแขนพิการ (Erb’s palsy) (คน) 0 0
-จำนวนทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนจากภาวะคลอดติดไหล่(คน) 0 0
-จำนวนทารกตายปริกำเนิดจากภาวะคลอดติดไหล่ (คน) 0 0
จากตารางพบว่า ภายหลังการใช้ “Raman Labour Safety Model” เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ
คลอดติดไหล่และคลอดไหล่หักในทารกแรกเกิด พบมีอัตราการเกิดการคลอดติดไหล่ลดลงจาก ร้อยละ 10.99
เป็นร้อยละ 2.77 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ และไม่พบอัตราการคลอดไหล่หัก ซึ่งจากเดิมพบร้อยละ 5.49 และ
ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ แขนพิการ ภาวะขาดออกซิเจน และทารกตายปริกำเนิด
อภิปรายผล
1. ภายหลังหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลโดยใช้ “Raman Labour Safety Model” อัตราการเกิดภาวะ
คลอดติดไหล่มีแนวโน้มลดลง ไม่พบภาวะคลอดไหล่หัก และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทั้งนี้เกิดจาก
การมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ ระยะรอคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด และ
บุคลากรยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องร้อยละ 87.92
2. ภายหลังจากพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานสูติกรรมได้รับการอบรมเรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์
เพื่อป้องกันการคลอดติดไหล่ และการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะคลอดติดไหล่ พบมีความรู้มากกว่าก่อนได้รับ
การอบรม ปฏิบัติตามแนวทางได้ถูกต้อง
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากการพัฒนาแนวทาง “Raman Labour Safety Model” ส่งผลให้สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแล
หญิงตั้งครรภ์มีแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อป้องกันการเกิดความเสี่ยงต่อการคลอด
ติดไหล่ พบว่า อัตราการเกิดภาวะคลอดติดไหล่มีแนวโน้มลดลง ไม่พบภาวะคลอดไหล่หัก และไม่พบ
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดความพร้อมของทีมในการช่วยเหลือกรณีเกิดภาวะคลอดติดไหล่นอกจากนี้
ยังมีการดูแลรักษาต่อเนื่องกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารก ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดการฟ้องร้องได้
โอกาสพัฒนา
ในส่วนของแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ผู้ดูแล ได้แก่ การประเมินช่องทางคลอดโดยใช้แบบประเมิน
ของกรมการแพทย์ เป็นโอกาสพัฒนาในการดำเนินงานต่อไป เนื่องจากแพทย์ใน รพช. เป็นแพทย์ใช้ทุน
จึงขาดทักษะเฉพาะทางสูติกรรม จำเป็นต้องได้รับการอบรมพัฒนาเพื่อประเมินได้ถูกต้อง และสามารถวางแผน
การคลอดได้เหมาะสม ด้านศักยภาพพยาบาลในหน่วยงานสูติกรรม หากมีการเรียนรู้การใช้ ultrasound
เพื่อคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ จะสามารถช่วยให้การเข้าถึงในการประเมินเร็วขึ้น