Page 259 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 259

F17


                         ผลโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมุ่งเน้นหาทางออกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

                      การควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์


                                                                                  นางสาววาสนา  ตันกิม และคณะ
                                                             โรงพยาบาลบางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตสุขภาพที่ 6

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสุขภาพที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดา

                  และทารก โดยพบว่า การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ
                  และแท้ง และการเป็นเบาหวานหลังคลอดร้อยละ 8.40 ส่วนภาวะแทรกซ้อนต่อทารก ได้แก่ การเพิ่มโอกาส
                  ที่ทารกจะตัวโต ต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เสี่ยงต่อความผิดปกติหรือ มีภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด รวมถึง
                  การเสียชีวิตของมารดาและทากแรกเกิด ซึ่งเป็นผลกระทบรุนแรงและตัวชี้วัดในระดับประเทศ และยังส่งผล

                  ต่อค่าใช้จ่ายในด้านการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลบางปะกง ประสบปัญหานี้เช่นกัน จากเดิม
                  ใช้วิธีการสอนสุขศึกษาแต่ยังพบว่า  มีหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานระหว่าตั้งครรภ์จำนวน
                  เพิ่มสูงขึ้น จำนวน 52 คน, 74 คน และ 94 คน ในปีงบประมาณ 2564 – 2566 ตามลำดับ และพบว่า

                  หญิงเหล่านี้มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง จนต้องใช้ยาฉีด Insulin และ
                  ต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง รวมถึงปัญหาการรักษาพยาบาลหลังคลอด จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น
                  ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการศึกษาผลโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมุ่งเน้นหาทางออกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                  การควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                        1. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมุ่งเน้นหาทางออกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                  การควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
                        2. เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาด้านค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรม
                        3. เพื่อเปรียบเทียบผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับ

                  การวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม

                  วิธีการศึกษา
                    การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi experimental) แบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ (one group pre-post test design)
                         ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์
                  โรงพยาบาลบางปะกง และได้รับการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (GDM.) จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบ

                  เจาะจง (purposive sampling) นำทุกคนเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง
                         เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบเก็บข้อมูลแบบเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป
                  ของหญิงตั้งครรภ์ การวินิจฉัยโรค การรักษา ข้อมูลความรู้ ระดับน้ำตาลปลายนิ้ว น้ำหนัก BMI. และความพึงพอใจ
                  ต่อการเข้ารับบริการ วิธีการคลอด น้ำหนักทารก 2) แบบวัดความรู้ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ KR-

                  20 เท่ากับ 0.82 3) แบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
                  ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1 4) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบมุ่งเน้นหาทางออกเพื่อปรับเปลี่ยน
                  พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ค่าประสิทธิภาพ
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264