Page 258 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 258
F16
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนของเชิงกรานกับศีรษะทารก ในหญิงตั้งครรภ์
ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์แรก น้ำหนักที่ขึ้นขณะตั้งครรภ์
ความสูงของยอดมดลูก การเคลื่อนของศีรษะทารกลงเชิงกราน มีผลต่อการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนกันของเชิงกราน
แม่กับศีรษะของลูก (CPD) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ
สุธิต คุณประดิษฐ์ (2549: บทคัดย่อ) พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอด 5 ปัจจัย
ได้แก่ อายุมารดา ความสูงของหญิงตั้งครรภ์ ลำดับคลอด น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และความสูง
ของยอดมดลูก จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยง 5 ประการที่ทำให้คลอดปกติไม่ได้ ได้แก่ อายุของมารดามากกว่า
34 ปี มารดาสูงน้อยกว่า 151 เซนติเมตร ตั้งครรภ์ครั้งแรก มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มากกว่า
22 กิโลกรัม และระดับยอดมดลูกสูงกว่า 35 เซนติเมตร
นอกจากนี้ผลการวิจัยในครั้งนี้ ยังพบปัจจัยที่แตกต่างจากของสุธิต คุณประดิษฐ์ (2549: บทคัดย่อ)
ได้แก่ อายุ และ ส่วนสูง ของหญิงตั้งครรภ์ ไม่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนของเชิงกรานกับศีรษะทารก
( CPD ) เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างน้อย อาจส่งผลให้การวิจัย วิเคราะห์ทางสถิติ มีความแตกต่างกับกลุ่มตัวอย่าง
ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : สรุปสาระสำคัญของผลการศึกษา และข้อเสนอแนะอย่างสั้น รัดกุม ชัดเจน
1. หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับการประเมินการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนของเชิงกรานกับศีรษะทารก (CPD)
ตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรก และมีการติดความความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนการคลอดที่ปลอดภัย
แก่มารดาและทารก
2. พัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการประเมิน CPD Risk Score ตามระดับความเสี่ยงต่ำ
ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง มี Flow chart การดูแลหญิงตั้งครรภ์ ตามระดับความเสี่ยง
3. มีการสื่อสารให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในเรื่องความเสี่ยงในการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วน
ของเชิงกรานกับศีรษะทารก (CPD) เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และดูแลในภาวะฉุกเฉิน