Page 257 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 257
F15
N4Studies ในการคำนวณ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง = 87 คน ผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างอีกร้อยละ 20
คิดเป็น 110 คน เพื่อความครอบคลุมในการเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยเลือกเวชระเบียนการคลอดย้อนหลัง 2 ปี
ตามเกณฑ์ที่กำหนดในการวิจัย
Inclusion criteria ได้แก่ ไม่เคยมีประวัติการผ่าคลอดครั้งก่อน ได้รับการการส่งต่อไปพบสูติแพทย์
แล้ววินิจฉัยมีภาวะ CPD ได้รับการผ่าตัดคลอด
Exclusion criteria ได้แก่ ในเวชระเบียนไม่พบประวัติการฝากครรภ์ และผลการวินิจฉัยการคลอด
ไม่ได้รับการประเมิน CPD risk score หรือมีข้อมูลปัจจัยไม่ครบทั้ง 6 ข้อ, ครรภ์แฝด
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ โรคร่วมขณะตั้งครรภ์ น้ำหนักของทารก
แรกคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอายุของหญิงตั้งครรภ์ ส่วนสูง , ตั้งครรภ์ท้องแรก/หลัง , น้ำหนักขึ้น
ขณะตั้งครรภ์, ความสูงของยอดมดลูก, การเคลื่อนของศีรษะทารกผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกราน, มาจัดระดับความเสี่ยง
โดยแบ่งคะแนนเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงต่ำ ( < 5 คะแนน ) ความเสี่ยงปานกลาง ( 5 - 10.5 คะแนน )
ความเสี่ยงสูง ( 11 คะแนน ขึ้นไป ) ที่มีผลต่อการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนของเชิงกรานกับศีรษะทารก
(Cephalopelvic disproportion : CPD )ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การทดสอบไคส์แควร์ ( Chi-square test )
3.ภาวะ CPD (Cephalopelvic Disproportion) ผลการคลอด เกิดภาวะ CPD หรือไม่เกิดภาวะ CPD
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา : อธิบายผลการศึกษาที่สำคัญ สอดคล้องกับวิธีการศึกษา
หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้องส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 88.2
มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 74.5 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 97.3 น้ำหนักของทารกแรกคลอดส่วนใหญ่
มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 94.6 อายุของหญิงตั้งครรภ์ มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 43.6
อายุตั้งแต่ 25-33 ปี ร้อยละ 40.0 ตามลำดับ , ส่วนสูงของหญิงตั้งครรภ์ อยู่ในช่วง 151-159 ซม. ร้อยละ 49.1
และ 160 ซม. ขึ้นไป ร้อยละ 34.4 ตามลำดับ , เป็นการตั้งครรภ์ท้องที่สองขึ้นไป ร้อยละ 52.7 ท้องแรก ร้อยละ 46.4
ตามลำดับ น้ำหนักที่ขึ้นขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ขึ้นน้อยกว่า 11.4 กก. ร้อยละ 61.8 , ขนาดความสูงของยอดมดลูก
น้อยกว่า 34 ซม. ร้อยละ 63.6 , การเคลื่อนของศีรษะทารกลงเชิงกราน HE ร้อยละ 91.8 , มีระดับความเสี่ยง
ต่อ CPD ความเสี่ยงกลาง (ระดับคะแนน 5-9.5) ร้อยละ 49.3 ความเสี่ยงต่ำ (ระดับคะแนน น้อยกว่า 5)
ร้อยละ 47.3 ตามลำดับ โดยการตั้งครรภ์แรกมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนกันของเชิงกราน
มารดากับศีรษะของลูก (CPD) มากกว่าการตั้งครรภ์ครั้งที่สองขึ้นไป ร้อยละ 72.2 และ 27.8 ตามลำดับ
น้ำหนักขึ้นขณะตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 11.4 – 22.4 กก. มีการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนกันของเชิงกรานมารดากับศีรษะ
ของลูก (CPD) มากกว่ามารดาที่น้ำหนักขึ้นขณะตั้งครรภ์ น้อยกว่า 11.4 กก. ร้อยละ 72.2 และ 27.8 ตามลำดับ
โดยมารดาที่มีความสูงของยอดมดลูกขณะตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 35 ซม. ขึ้นไปมีการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนกัน
ของเชิงกรานมารดากับศีรษะของลูก (CPD) มากกว่ามารดาที่ความสูงของยอดมดลูก 34 ซม.และน้อยกว่า 34 ซม.
ร้อยละ 38.9, 33.3 27.8 ตามลำดับ โดยการเคลื่อนของศีรษะทารกลงเชิงกราน HE ไม่พบการเกิดภาวะไม่ได้
สัดส่วนกันของเชิงกรานมารดากับศีรษะของลูก (CPD) ร้อยละ 95.65 โดยระดับความเสี่ยงต่อ CPD ความเสี่ยง
ปานกลางถึงความเสี่ยงสูง มีการเกิดภาวะไม่ได้สัดส่วนกันของเชิงกรานมารดากับศีรษะของลูก (CPD) มากกว่า
ความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 72.2, 22.2 และ 5.6 ตามลำดับ
อภิปรายผล