Page 292 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 292
G4
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
โดยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology)
นางรุ่งนภา เกียรติรวี,นางสุนิสา ใจสุภาพ
นายบรรจง คำแก้ว ,น.ส.ศิรินชา พึ่งวงษ์เขียน
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จังหวัดตาก เขตสุขภาพที่ 2
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
อัตราผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ต่อแสนประชากรพื้นที่เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
2000 1773.52
1500 1416.47 1481.27 1525.44
1240.5
1000 644.51 784.47 HT
488.98 606.78 601.12
500 DM
0
ป ี2563 ป ี2564 ป ี2564 ป ี2565 ป ี2566
ข้อมูลจากHealth Data Centerกระทรวงสาธารณสุข พบว่าผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายใหม่ ในพื้นที่เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราความชุก
เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานมีอัตราความชุก 6.8%(ปี2561) เพิ่มขึ้นเป็น 8.9%(ปี2566) ผู้ป่วยความ
ดันโลหิตสูง มีอัตราความชุก 20.71%(ปี2561) , 24.33%(ปี2566) และปี 2566 ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับ
น้ำตาลไม่ได้ มีถึง57.27% การดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ต้องมีความรวดเร็ว ทันเวลา มี
ประสิทธิภาพ รวมถึงควรมีการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถประเมินตนเองและจัดการความเสี่ยงของตนเอง
ได้ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
(Digital technology) โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และสอดคล้องกับบริบทในชีวิตประจำวัน
ของประชาชนและผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะตามลักษณะของโรค และมี
กระบวนการจัดการข้อมูลของผู้ป่วย ที่ถูกต้องตามกฎหมายป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย
ประชาชน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย กลุ่มป่วย
คัดกรองค้นหาโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้รับการวินิจฉัย ได้รับการดูแล
อย่างรวดเร็ว ไม่ให้เป็นกลุ่มป่วย โดยเร็ว ในชุมชน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ชุมชนมี Digital Health Station สำหรับประชาชนได้เข้าถึงการคัดกรองค้นหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2.เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองค้นหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ NCD Application
3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการขึ้นทะเบียนในระบบ LINE Official Account “เบาหวานตากอบอุ่น”