Page 295 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 295

G7


                  การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล


                                                               นายแพทย์วิโรจน์ โยมเมือง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
                                                                             โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล เขตสุขภาพที่ 12

                                                                                               ประเภทวิชาการ
                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ปัจจุบันเทคโนโลยีและสารสนเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่าง
                  ยิ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่นับวันยิ่งจะความทันสมัย สะดวก เข้าถึงง่าย และมีความปลอดภัย
                  ทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งสามารถนำมา
                  ประยุกต์ใช้กับการแพทย์และสาธารณสุข โดยนำระบบการบริการทางการแพทย์ที่ใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับ

                  ผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลด้วยรูปแบบการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine ส่งผลให้ผู้ป่วยจะได้รับบริการทาง
                  คลินิกที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น การให้คำปรึกษาสามารถทำได้จากระยะไกล  ลดความเลื่อมล้ำด้านการ
                  เดินทางในการเข้ารับบริการของประชาชนในบางพื้นที่ ลดต้นทุนทางอ้อมของผู้ป่วยในการเข้าถึงบริการทาง

                  การแพทย์
                         ขณะที่คำจำกัดความของ “การแพทย์ทางไกล” หรือ “Telemedicine”  ที่นิยามโดย องค์การอนามัย

                  โลก (World Health Organization: WHO) หมายถึง การจัดให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนที่อยู่
                  ห่างไกลโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยน
                  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรค รวมถึงการศึกษาวิจัย และเพื่อประโยชน์

                  สำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์ และยังพบว่าแพทยสภา ได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับ
                  การแพทย์ทางไกล เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine) และคลินิกออนไลน์
                  โดยกำหนดให้ “โทรเวช” หรือ “การแพทย์ทางไกล” (Telemedicine) หมายความว่า เป็นการส่งผ่าน หรือ
                  การสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์แผนปัจจุบันโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งจากสถานพยาบาล ภาครัฐและ/

                  หรือเอกชนจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งโดยอาศัยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ การปรึกษา คำา
                  แนะนำ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือบุคคลอื่นใด เพื่อการดำเนินการทางการแพทย์ ในกรอบแห่งความรู้
                  ทางวิชาชีพเวชกรรม ตามภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ โดยความ รับผิดชอบของผู้ส่งผ่านหรือการ
                  สื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์นั้น ๆ

                         ดังนั้นการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine มิใช้เพียงการจัดทำวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับผู้ป่วย แต่

                  หมายรวมถึงประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น 1) การกำหนดรูปแบบบริการที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                  มาตรฐานการบริการตามแนวทางมาตรฐานโรงพยาบาล และ บริการสุขภาพของสถาบันรับรองคุณภาพ
                  สถานพยาบาล (องค์การมหาชน)  2) การจัดการข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยที่มีมาตรฐานทางด้านเวชระเบียนอย่าง
                  ครบถ้วนสมบูรณ์ 3) มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องมีความมั้นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สะดวกและง่าย

                  ต่อการใช้งาน 4) การจัดคลังและการขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ 5) การจัดการด้านการตรวจทาง
                  ห้องปฏิบัติการที่ต้องมีแนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ การขนส่งสิ่งตรวจ และการรายงานผลการตรวจที่มี
                  มาตรฐาน เหล่านี้คือปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เพื่อมาใช้ในการ
                  ให้บริการทางการแพทย์


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1.เพื่อพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกลผู้ป่วยปฐมภูมิพื้นที่โซนเกาะ โรงพยาบาลสตูล
   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300