Page 322 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 322

H2


                  การดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม
                  กิจกรรมที่ 1  อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา
                  ศักยภาพ อสม. และบุคลากรสาธารณสุข

                  มีหัวข้อ ตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้น
                  การดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากใน
                  กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คัดกรองภาวะ
                  กลืนลำบาก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟู
                  ภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อยที่ส่งผลต่อ

                  การเคี้ยวกลืน โภชนาการที่เหมาะสม และ
                  telemedicine (รูปที่ 1)                    รูปที่ 1  อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอสม.และบุคลากรสาธารณสุข


                  กิจกรรมที่ 2 อสม. และบุคลากรสาธารณสุข
                  คัดกรอง และฟื้นฟู สุขภาพช่องปากและภาวะ
                  กลืนลำบากในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

                  อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยใช้เครื่องมือ Thai
                  OHAT, T-SSQ (สำหรับอสม.) หรือ Thai
                  EAT-10 (สำหรับบุคลากรสาธารณสุข) และ
                  จำแนกกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น

                  3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มปกติ ให้คำแนะนำการทำ  รูปที่ 2  อสม. และบุคลากรสาธารณสุข คัดกรอง และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากและภาวะ
                  ความสะอาดช่องปาก การบริหารกระตุ้น                    กลืนล าบากในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
                  น้ำลาย อาหารและโภชนาการ 2) กลุ่มเสี่ยง ให้การรักษาตามศักยภาพของพื้นที่หรือโรงพยาบาลส่งเสริม

                  สุขภาพตำบล (รพสต.) และ 3) กรณีเกินศักยภาพ ปรึกษาทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาล
                  เชียงรายประชานุเคราะห์ผ่าน telemedicine เพื่อส่งต่อในการดูแล ฟื้นฟู (รูปที่ 2)

                  ผลการดำเนินงาน
                         การดำเนินการโครงการ 18 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของอสม.และ
                  บุคลากรสาธารณสุขในการคัดกรองสุขภาพช่องปาก การกลืนและการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้น

                  โดยจำนวนอสม.ที่ได้รับการอบรมทั้งหมด 733 คน และบุคลากรสาธารณสุข 253 คน รวมทั้งหมด 986 คน
                         ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการตรวจช่องปาก ทั้งสิ้น 2,266 คน คิดเป็นร้อยละ 74.0 ของผู้สูงอายุ
                  ที่อยู่ในเกณฑ์พึ่งพิงทั้งหมด และจากการคัดกรองสุขภาพช่องปากโดย Thai OHAT พบว่ามีฟันแท้ใช้งาน
                  มากกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 33.7 พบปัญหาปริทันต์ ร้อยละ 26.8 มีคู่สบฟันหลัง 4 คู่ ร้อยละ 39.1 พบรอยโรค
                  เสี่ยงมะเร็งในช่องปาก ร้อยละ 0.7 พบภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ร้อยละ 5.6 ระดับความสะอาดในช่องปาก

                  ดีมาก ร้อยละ 27.7 ระดับพอใช้ ร้อยละ 56.3 และระดับไม่สะอาด ร้อยละ 6.9 มีปัญหาในการเคี้ยว กัด
                  ร้อยละ 20.4 พบมีความเจ็บปวดในช่องปาก ร้อยละ 5.5 นอกจากนี้ได้รับการคัดกรองภาวะกลืนลำบาก
                  ด้วย Thai EAT-10/ T-SSQ จำนวน 1,752 คน คิดเป็นร้อยละ 77.3 พบมีภาวะกลืนลำบากร้อยละ 7.2

                  เสี่ยงต่อการสำลักร้อยละ 0.6 มีการส่งต่อไปรับการรักษาที่รพสต. 188 คน (ร้อยละ 8.3) รับการรักษา
                  ที่โรงพยาบาล 174 (ร้อยละ 7.6) คน และมีการปรึกษาผ่าน telemedicine 114 คน (ร้อยละ 5.0)

                  อภิปรายผล
                         การคัดกรองสุขภาพช่องปากและการกลืนในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ถือเป็นหนึ่งกิจกรรมในขับเคลื่อน
                  ยุทธศาสตร์ในการดูแลระบบสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยและติดเชื้อ
   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327