Page 357 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 357
I17
ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากการพัฒนา (ก.พ.2567) ผู้ป่วยทั้ง 16 คน มีค่าHct เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 31-35% ค่า Hct เฉลี่ย
32.2% ผู้ป่วยทุกรายได้รับจำนวนยาฉีด EPO พอดีวันนัดพบแพทย์ครั้งต่อไป ไม่เหลือยาตกค้างที่บ้าน
อภิปรายผลการวิจัย
การพัฒนาคุณภาพการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
ทำให้ผู้ป่วยได้รับและฉีดยาตามแผนการรักษา ค่าความเข้มข้นเลือด (Hematocrit : Hct) เพิ่มขึ้นและสามารถ
ปรับลดขนาดยาลงได้ แบบบันทึกการฉีดยาช่วยให้รู้จำนวนยาEPOคงเหลือและปรับลดยาได้พอดีวันนัด
ไม่เหลือยาหมดอายุที่บ้าน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ร่วมประเมินและช่วยตรวจเช็คยา มีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยครอบคลุม
ทำให้รู้ถึงปัญหาที่มีความเฉพาะในแต่ละบุคคลส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเมื่อมีภาวะซีดจำเป็นต้องฉีดยาEPOต่อเนื่องตลอดชีวิต การดูแลให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย การเสริมแรงจูงใจและการให้กำลังใจจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีทักษะและ
ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
2. การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พยาบาลผู้จัดการรายกรณี (nurse case manager) มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในการช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุม นำมาซึ่งผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดี และการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ
ได้อย่างคุ้มค่า คุ้มทุน
3. การศึกษานี้ควรมีการติดตามผลลัพธ์ในระยะยาวต่อไป เพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ