Page 356 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 356

I16


                  ให้ความรู้เหตุผลของการใช้ยาฉีด แนะนำการปฏิบัติตัวประคบเย็นกรณีกลัวเจ็บ การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ

                  (Motivational Interviewing:MI) ปรับแนวทางการนำใบบันทึกการฉีดยาและขวดเปล่าที่ใช้ยาแล้วมาด้วยใน
                  วันนัดพบแพทย์ทุกครั้งเพื่อตรวจสอบการฉีดยา
                         4. จัดทำรูปแบบบันทึกการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง จัดทำคู่มือการฉีดยาและการเก็บรักษายา

                         5. จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องแก่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
                  ตำบลในเครือข่าย โรงพยาบาลเสนาทั้ง 5 อำเภอ ชี้แจงแนวทางปฏิบัติแนวทางเดียวกัน
                         6. นำระบบการดูแลสู่การปฏิบัติในคลินิกCAPD ของโรงพยาบาลเสนา ติดตามผลลัพธ์และพัฒนา
                  โดยใช้แนวคิด P-D-C-A อย่างต่อเนื่อง

                  ผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง(CAPD)โรงพยาลบาลเสนา จะได้รับการติดตามการรักษาต่อเนื่อง และได้รับ
                  ยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดแดงตามแนวทางที่ สปสช กำหนดตามระดับค่าความเข้มข้นเลือด (Hct) ของผู้ป่วย
                  พยาบาล PD nurse ซึ่งเป็นพยาบาลผู้จัดการรายกรณี(nurse case manager) จะเขียนใบบันทึกการฉีดยา
                  และทบทวนแผนการรักษาของแพทย์ ให้คำแนะนำการฉีดยา การเก็บรักษา และสร้างแรงจูงใจ รวมทั้งค้นหา

                  ปัญหาและจัดการปัญหาเป็นรายบุคคล เมื่อผู้ป่วยมาตรวจตามนัดทุกครั้งเคร่งครัดการนำใบบันทึกการฉีดยา
                  พร้อมขวดยาฉีดที่ใช้แล้วมาตรวจสอบด้วยทุกครั้ง จัดทำคู่มือการใช้ยา EPO และช่องทาง Line group
                  เพื่อติดต่อประสานสำหรับเครือข่าย รพ.สต.

                                    รูปแบบเดิม                                   รูปแบบใหม่
                   - แพทย์สั่งยาฉีดให้ครบตามแผนการรักษา         - แพทย์สั่งยาฉีดให้ครบตามแผนการรักษาโดยหักลด
                                                                ยาฉีดที่เหลือค้างที่บ้าน
                   - PD nurse ให้คำแนะนำการเก็บยา ไม่ได้ตรวจเช็ค - PD nurse ให้คำแนะนำการเก็บยา การใช้ยาและ

                   ยาที่เหลือ                                   เสริมแรงจูงใจ ตรวจเช็ดยาคงเหลือ นับขวดยาเปล่า
                                                                และแจ้งแพทย์เพื่อลดจำนวนยาให้ได้ตรงนัด
                   - รูปแบบใบบันทึกจัดทำโดยเภสัชกรไม่มีช่อง”ยา - ปรับปรุงแบบบันทึกการฉีดยา ตรวจเช็คยาและ

                   คงเหลือ”PD nurseสอบถามการฉีดยาแต่ไม่ได้ อธิบายโดย PD nurse ตรวจสอบยาคงเหลือและ
                   ตรวจสอบการฉีดยา                              ตรวจสอบการฉีดยา
                   - ให้คำแนะนำการฉีดยาแบบเดียวกันทุกราย        - ติดตามและสอบถามปัญหาการฉีดยาทุกราย
                                                                ให้คำแนะนำเป็นรายบุคคลตามปัญหาที่พบ สนทนา

                                                                เพื่อสร้างแรงจูงใจ(Motivational Interviewing: MI)
                                                                - ปัญหาเจ็บบริเวณที่ฉีดยา แนะนำประคบเย็น
                                                                - ปัญหาไม่สะดวกเดินทางไปสถานพยาบาล ประเมิน
                                                                และสอนญาติฉีดยา

                  ผลลัพธ์ที่ได้

                         ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (ต.ค.2566-ก.พ.2567) 53 คน เพศชาย 33 คน (62.26%) เพศหญิง 20 คน
                  (37.74%) มีอายุตั้งแต่ 16-84 ปี อายุเฉลี่ย 59.59 ปี ผู้ป่วยทุกรายได้รับยาฉีด EPO ผู้ป่วยมียาฉีด EPO เหลือที่
                  บ้าน 16 คน (30.19%) ยา EPO เหลือ 2-5 ขวดจำนวน 5 คน(31.25%) เหลือ 6-10 ขวดจำนวน 4 คน (25%)

                  เหลือ 11-15 ขวด จำนวน 3 คน (18.75%) เหลือ 17 ขวดจำนวน 1 คน (6.25%) เหลือ 27 ขวด จำนวน 1 คน
                  เหลือจำนวน 30 ขวด 1 คน (6.25%) เหลือ 50 ขวดจำนวน 1คน (6.25%) ผู้ป่วยทั้ง 16 คน มีค่า Hct
                  อยู่ในช่วง 24-30% ค่าHctเฉลี่ย 27.73%
   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361