Page 355 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 355

I15


                              การพัฒนาคุณภาพการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin)

                            ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


                                                                                          นางสาวจันทนา ชูเกสร
                                                                                 โรงพยาบาลเสนา เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                           ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต่าง ๆ
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ

                  ชีวิตลดลง ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่สูงขึ้นมาก เนื่องจากไตเป็นแหล่งผลิต Erythropoietin
                  ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง จากการศึกษาของ KDIGO Clinical Practice Guideline

                  for Anemia in Chronic kidney Disease แนะนำให้ใช้ Erythropoiesis stimulating agent (ESA)
                  จากภายนอกที่เรียกว่า ErythropoietinหรือEpoetin (EPO) เพื่อทดแทน Erythropoietin ที่ผลิตจากไตในการ
                  รักษาภาวะโลหิตจาง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง
                  ในระบบหลักประกันสุขภาพจะได้รับยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin: EPO) เมื่อ Hct < 30%

                  จากนั้น Hct <33% จ่าย 2 vial/สัปดาห์ Hct ≥ 33% จ่าย 1 vial/สัปดาห์ และ Hct ≥ 36% หยุดจ่ายยา EPO
                  ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาฉีดตามเกณฑ์และนำยาไปฉีดที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
                         จากสถิติข้อมูลปี 2566 คลินิกล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลเสนา มีสถิติผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
                  (CAPD) จำนวน 76 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) หรือ EPO ตามระดับ

                  ของค่า Hct พบสถานการณ์ผู้ป่วย 1 ราย เริ่มทำ CAPD ปี 2563 ได้เสียชีวิตในเดือนสิงหาคม 2566 ญาตินำยา
                  ฉีด EPO มาคืนจำนวน 90 ขวด พบยาหมดอายุ 40 ขวด ผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยมีภาวะซีดพบยาฉีด EPO
                  เหลือ 80 ขวด และเมื่อสุ่มสอบถามยาฉีดที่เหลือที่บ้านในผู้ป่วยที่มีภาวะซีด Hb<10 gm/dl จำนวน 5 ราย

                  พบ 1 ราย มียา EPO เหลือ 30 ขวด และอีก 4 ราย มียาEPO เหลือ 6 -10 ขวด สอบถามพบผู้ป่วยฉีดยา
                  ไม่สม่ำเสมอตามแผนการรักษาและยาฉีดที่หมดอายุต้องทิ้งไปเป็นการเสียค่าใช้จ่ายที่สูงเมื่อเทียบมูลค่า
                  เนื่องจากยา EPO มีราคา 218 บาท/ขวด ดังนั้นหน่วยล้างไตทางช่องท้องจึงได้ทำการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
                  การฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลเสนา เพื่อบริหารยา
                  ให้ได้ประสิทธิภาพ คุ้มค่า ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


                  วัตถุประสงค์
                         เพื่อพัฒนาคุณภาพการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
                  โรงพยาบาลเสนา

                  วิธีการศึกษา
                         1. ศึกษาสถานการณ์การฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin:EPO) ในผู้ป่วย CAPD ทุกราย

                  ตรวจนับจำนวนยาคงเหลือ การเก็บยา แบบลงบันทึกการฉีดยา ค้นหาสาเหตุการที่ยาคงเหลือ การไม่ฉีดยา
                  ตามแผนการรักษา ให้ผู้ป่วยและญาติได้แสดงความคิดเห็นและร่วมวางแนวทางการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือด
                         2. นำสถานการณ์ศึกษามาวิเคราะห์และทบทวนร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อหาแนวทางและ
                  รูปแบบการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพ และการใช้ยาอย่างคุ้มค่าคุ้มทุน

                         3. กำหนดแนวทางในการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง สอนให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติในการจัดเก็บยา
   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360