Page 368 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 368

I28


                         การศึกษาผลของการใช้คำปรึกษาในการบริโภคของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง
                                              ในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลมหาสารคาม


                                                                                       นางสาวรัญชน์  ปินะกาโน
                                                          โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease: ESRD) เป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่
                  ในการทำงานอย่างถาวรความสามารถในการขจัดของเสียลดลงและมีอัตราการกรองที่ไต (Glomerular

                  filtration rate: GFR) น้อยกว่า 15 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม. (American Kidney Foundation
                  [AKF], 2015) ในปี พ.ศ.2556-2559 สำหรับในประเทศไทย สถานการณ์โรคไตในปัจจุบัน ข้อมูลจากการศึกษา
                  จากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณร้อยละ 17.6 ของคนไทยป่วย
                  เป็นโรคไต คิดเป็นผู้ป่วยราว 8 ล้านคน 80,000 คนเป็นไตวายระยะสุดท้าย และมีแนวโน้มมากขึ้นเป็นทุกปี ๆ

                  สอดคล้องกับสถานการณ์โรคไตในโรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2563 โดยมีผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4 และ 5
                  มีจำนวน 2,310 , 992 คน ในปี 2564 มีจำนวน 2,314 , 1,346 คน และในปี 2566 มีจำนวน 2,427 , 1,224
                  คน และผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องในปี 2563 – 2566 มีจำนวน 351 , 357 และ 269 ตามลำดับ
                           การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis) เป็นวิธีการขจัดของเสียทางช่องท้องที่ถูกนำมาใช้

                  เมื่อไตทำงานเสียหน้าที่อย่างถาวรแล้วแต่ต้องทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องตลอดไป ซึ่งวิธีนี้อาศัยเนื้อเยื่อที่บริเวณ
                  ช่องท้องในการช่วยกรองของเสียออกจากเลือดแทนไตร่วมกับการใช้น้ำยาล้างไต (การใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง
                  จะใส่ทางสายล้างไตทางช่องท้อง (Tenckhoff Catheter) ที่แพทย์ได้ทำการผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง) การรักษา
                  แบบการล้างไตทางช่องท้อง (Continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD) ต้องอาศัยแรงโน้มถ่วง

                  ของโลกในการปล่อยน้ำยาเข้าและออกจากช่องท้องเมื่อต่อถุงน้ำยากับสายต่อท่อล้างไตแล้วยกขึ้นน้ำยา
                  จากถุงจะไหลเข้าสู่ช่องท้อง เมื่อน้ำยาหมดถุงสามารถปลดสายออกจากท่อล้างไต และให้น้ำยาค้างไว้ในท้อง
                  เป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง โดยเยื่อบุภายในช่องท้องของผู้ป่วยเป็นเยื่อตัวกรอง ทำหน้าที่กรองของเสียน้ำ

                  แลกเปลี่ยนเกลือแร่ต่าง ๆ และกรดด่างระหว่างเลือดผู้ป่วย ที่ผ่านเข้ามาในบริเวณหลอดเลือดที่ผนังหน้าท้อง
                  กับน้ำยาล้างไต เมื่อครบเวลา 4-8 ชั่วโมง น้ำยาที่มีของเสียอยู่จะถูกปล่อยออกจากช่องท้องและถูกแทนที่ด้วย
                  น้ำยาใหม่ที่เติมเข้าไปทั้งหมดนี้เรียกว่าการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตและการแลกเปลี่ยนของเสีย (Exchange)
                           ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง คือ ไม่สามารถควบคุมอาหารได้ หรือบางราย
                  รับประทานอาหารได้น้อย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญจะต้องหาทางช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้

                  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน (พรรณทิพย์ภา, 2560) หรือแผลติดเชื้อน้อยลง ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
                  และสามารถที่จะดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขตามศักยภาพ การบริโภคอาหารจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
                  ในเรื่องสุขภาพการป้องกัน และรักษาภาวะทุพโภชนาการ ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อน

                  ถึงวัยอันควรของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้
                           ปัญหาโภชนาการที่มักพบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง CAPD คือ
                  การรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโปรตีนและมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำเนื่องจาก
                  ผู้ป่วยเคยชินกับการถูกจำกัดอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ในช่วงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ก่อนได้รับการรักษา

                  ด้วยการล้างช่องท้องมาเป็นเวลานาน ทำให้รับประทานอาหารทีให้โปรตีนได้ไม่มากพอ นอกจากนี้ในการทำ
                  CAPD จำเป็นต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง ครั้งละ 2 ลิตร และทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงปล่อยน้ำยาออกมา
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373