Page 369 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 369

I29


                  การมีน้ำยาเข้าไปอยู่ในช่องท้อง ทำให้รู้สึกแน่นช่องท้อง รับประทานอาหารได้น้อยลงและน้ำยา CAPD
                  มีกลูโคสซึ่งจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วย ไม่รู้สึกหิว ไม่มีความอยากอาหาร ผู้ป่วยบางคนยังขาด
                  ธาตุสังกะสี ทำให้ความรู้สึกในการรับรสเปลี่ยนแปลง รับประทานอาหารไม่อร่อย ทำให้รับประทานอาหาร

                  ได้น้อยลง เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดสาร โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆ ได้ ดังนั้นได้รับการล้างไต
                  ทางช่องท้อง CAPD ควรรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนเพียงพอ คือ โปรตีน ประมาณ 1.2-1.5 กรัม/น้ำหนักตัว
                  1 กิโลกรัม/วัน โปรตีนที่กินควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ไม่น้อยกว่า 50% ที่ได้จากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ
                  เนื้อปลาและไข่ขาวเพราะมีไขมันน้อย ย่อยง่าย และดูดซึมดีและควรกินเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ติดมัน
                  เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น การได้รับโปรตีนไม่เพียงพอนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อซูบผอม ภูมิต้านทานโรคต่ำ

                          การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาผลของการให้แนะนำการบริโภคอาหารของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทาง
                  ช่องท้อง (CAPD) มีแผนการเรียนรู้ตามกิจกรรมสอนรายบุคคล และรายกลุ่ม ร่วมกับการใช้สื่อแผ่นพับ
                  โมเดลอาหาร ตารางบันทึกเมนูอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ 3 ส่วนประกอบ

                  ด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องโภชนาการเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง และการเน้นย้ำอาหาร
                  ประเภทโปรตีน โดยวัดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           เพื่อศึกษาผลของการให้แนะนำการบริโภคอาหารของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD)

                  วิธีการศึกษา
                           3.1 วางแผน และวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) ในคลินิกโรคไต

                           3.2 ประชุมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ในการคัดเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องในการเข้าร่วม
                  การศึกษา คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างง่าย โดยการจับสลากผู้ป่วยในทะเบียนที่ได้รับ การล้างไตทางช่องท้อง
                  (CAPD) ในคลินิกโรคไต

                                 โดยมีเกณฑ์เข้าร่วมกิจกรรม คือ เป็นผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุ 50-59 ปี สามารถอ่านออกเขียนได้
                  และไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง และมีเกณฑ์คัดออก คือ ผู้ป่วยที่ย้ายการรักษาและมีการเสียชีวิตระหว่างการศึกษา
                           3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ทั่วไปของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรค การวางแผนด้านโภชนาการ
                  ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
                           3.4 ให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ในเรื่องการบริโภคอาหาร มีสื่อแผ่นพับให้

                  ความรู้ และแบบบันทึกอาการประจำวัน
                           3.5 ติดตามผล สอบถาม สังเกต ผู้ป่วยและญาติ
                           3.6 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ


                  ผลการศึกษา
                           จากการดำเนินการศึกษาผลของการให้คำปรึกษาการบริโภคอาหารของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไต
                  ทางช่องท้อง (CAPD) ในคลินิกโรคไต ในเดือนมกราคม 2566 – มีนาคม 2566 เป็นระยะเวลา 3 เดือน

                  กลุ่มประชากรทั้งหมดมีจำนวน 216 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 50 คน ส่วนใหญ่
                  เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 58.6 อายุเฉลี่ย 57 ปี สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
                  สิทธิการรักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า คิดเป็นร้อยละ 74.8 ส่วนใหญ่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง
                  ส่วนใหญ่ 2 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้ทั่วไปเรื่องการประทานอาหารคิดเป็นร้อยละ 76.3 และส่วนน้อยได้รับ

                  การย้ำเน้นเรื่องการบริโภคโปรตีนมาก่อนคิดเป็นร้อยละ 82.3 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนเข้าร่วม
                  กิจกรรมเฉลี่ย 11.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.63 และภายหลังเข้าร่วมการให้คำแนะนำมีค่าคะแนนเฉลี่ย
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374