Page 370 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 370
I30
13.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.84 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของผู้ป่วยและญาติภายหลัง
การเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นว่าก่อน 2.35 คะแนน
อภิปรายผล
ภายหลังการให้คำแนะนำการบริโภคอาหารปะเภทโปรตีน พบว่า ผู้ป่วยและญาติมีค่าเฉลี่ย
ของคะแนนความรู้มากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้น การให้คำปรึกษาแนะนำในการส่งเสริมผู้ป่วยและญาติ
มีความรู้ จะสามารถทำ ตามแผนการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาให้โดยเป็นการสอนรายบุคคลและรายกลุ่ม ร่วมกับ
การใช้สื่อแผ่นพับ โมเดลอาหาร ตารางบันทึกเมนูอาหาร และการจัดกลุ่มสัมพันธ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เพื่อได้เห็นแบบอย่างของบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง
และนอกจากนี้การให้ปรึกษาโทรศัพท์กระตุ้นเตือนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติ
สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารไปในทางที่ดี
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. เมนูอาหารส่วนใหญ่จะเป็นเมนูเดิมซ้ำ ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยมีความเบื่อหน่ายและไม่อยากกินไข่ขาวต้ม
ภายหลังการให้การให้คำแนะนำ ควรมีการพัฒนาเมนูอาหารจากไข่ขาวในหลากหลายรูปแบบสำหรับผู้ป่วย
ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD)
2. ควรเพิ่มระยะการศึกษา เป็น 6 เดือน และ 12 เดือน และศึกษาระดับอัลบูมินภายหลัง
ได้รับแนะนำ