Page 364 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 364

I24


                  มีความแตกต่าง โดยคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหลังเข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อน
                  เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ; ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
                                               14
                  ชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะไตเสื่อมของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม ;
                                                                                                           15
                  ทักษะการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ; พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองมีคะแนนการดูแลตนเองก่อนการได้รับ
                                           16
                  โปรแกรมอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 63.0 หลังการได้รับโปรแกรมมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่
                                                                                                           15
                                      17
                  ในระดับดี ร้อยละ 92.0 ; ค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ภายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนทดลอง ;
                  ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการให้คำปรึกษาเท่ากับ 159.64 มล.% และค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลใน
                  เลือดหลังการให้คำปรึกษาเท่ากับ 154.08 มล.% พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการให้คำปรึกษาลดลง ;
                                                                                                           18
                  อัตราการกรองของไตดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 10-11 ; อัตราการกรองของไตดีขึ้น จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ
                                                 13
                      12
                  93.0 ; อัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้น ; ผู้ที่มีระดับอัตราการกรองของไตลดลงมีระดับอัตราการกรองของไต
                                        16
                                                                                            17
                  เพิ่มขึ้นหลังเข้าโปรแกรม ; กลุ่มตัวอย่างมีการทำงานของไต eGFR เพิ่มขึ้นในทางที่ดี ; และหลังจากใช้
                                                                                       19
                  รูปแบบพบว่าในเดือนที่ 3 และ 6 ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีอัตราการกรองของไตลดลง ; น้ำตาลในเลือดหลังอด
                  อาหาร 8 ชั่วโมงต่ำกว่าก่อนการทดลอง ; ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
                                                    13
                  ต่ำกว่าก่อนทดลอง ; ฮีโมโกลบินเอวันซี ซีรั่มครีเอตินิน ต่ำกว่าก่อนการทดลอง ; กลุ่มตัวอย่างมีระดับค่าเฉลี่ย
                                 15
                                                                                   13
                                  16
                  ซีรั่มครีเอตินินลดลง
                           การที่ผลการวิจัยปรากฏเช่นนี้อาจเนื่องมาจากการพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไต
                  เสื่อมระยะที่ 3-4 ครั้งนี้ผู้วิจัยได้เน้นการสะท้อนปัญหาพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโดยการสร้าง
                  สัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ รวมทั้งกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยบอกปัญหาที่แท้จริง
                  ซึ่งผู้วิจัยจะใช้ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการประเมินพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมในครั้งแรก เพื่อเจาะลึกลงไป

                  ในแต่ละปัญหาของผู้ป่วย ซึ่งแต่ละรายก็จะมีปัญหาที่แตกต่างออกไปจะทำให้ผู้วิจัยทราบปัญหาที่แท้จริง
                  ของผู้ป่วย รวมถึงการวางแผนในการส่งเสริมทักษะในการจัดการตนเองให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างแต่ละราย
                  พร้อมทั้งแสดงความปรารถนาดีที่จะช่วยและร่วมมือกับผู้ป่วยให้สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ไตเสื่อม
                  และเน้นการเตรียมความพร้อมเป็นรายบุคคล เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการตนเอง เช่นเดียวกับการทบทวน

                  วรรณกรรมพบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องรับรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าว
                  เป็นส่วนประกอบสำหรับการแสดงพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับโรคโดยความรู้เกี่ยวกับโรคใน
                  ด้านต่างๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการจัดการตนเองจะสำเร็จได้นั้น
                  ผู้ป่วยต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาการของโรค การปฏิบัติตัวและการรักษา เพื่อช่วยตัดสินใจในการดูแลตนเอง

                           นอกจากนี้พบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ป่วยร่วมกับทีม
                  สุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะได้รับการรักษาที่เน้นการดูแลตนเองเป็นสำคัญ สามารถจัดการตนเอง
                  เพื่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีและชะลอการเกิดไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ จากแนวคิดการจัดการตนเองมีพื้นฐานมาจาก
                  กระบวนการคิด การตัดสินใจ และการเรียนรู้ทางสังคม ในทำนองเดียวกันแนวคิดการจัดการตนเองของ Lorig

                  และ Holman  กล่าวถึงการที่บุคคลเลือกแนวทางในการปรับมุมมองและทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้
                              20
                  เพื่อแก้ปัญหาและปฏิบัติพฤติกรรมใหม่ รวมถึงรักษาความมั่นคงทางอารมณ์ประกอบด้วย การจัดการทาง
                  การแพทย์หรือปฏิบัติตามแผนการรักษา การจัดการเกี่ยวกับบทบาทที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันและการจัดการ

                  ด้านอารมณ์ ซึ่งบุคคลจะมีการจัดการตนเองที่ดีได้นอกจากจะต้องมีความรู้ที่ดีแล้วยังต้องได้รับการสนับสนุน
                  ทางสังคมที่ดี ดังนั้นการจัดการตนเองเป็นความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยในการจัดการกับโรค
                  และการรักษาตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมสุขภาพ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
   359   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369