Page 363 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 363
I23
ซึ่งแต่ละรายก็จะมีปัญหาที่แตกต่างออกไปจะทำให้ผู้วิจัยทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย รวมถึงการวางแผนใน
การส่งเสริมทักษะในการจัดการตนเองให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างแต่ละราย พร้อมทั้งแสดงความปรารถนา
ดีที่จะช่วยและร่วมมือกับผู้ป่วยให้สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ไตเสื่อม
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมความพร้อมเป็นรายบุคคล เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการตนเอง
ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการจัดการตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้เกิดทักษะการติดตามตนเอง การประเมิน
ตนเอง และการเสริมแรงตนเอง
ขั้นตอนที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมและผลลัพธ์ทางคลินิกที่
เกี่ยวข้องในสัปดาห์ที่ 12 จากนั้นผู้วิจัยสรุปภาพรวมเกี่ยวกับการเข้าร่วมโปรแกรมจัดการตนเองเพื่อชะลอ
ไตเสื่อม แจ้งผลลัพธ์ที่ได้ให้ผู้ข้าร่วมโปรแกรมทราบและเน้นให้กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติการจัดการตนเองอย่าง
ต่อเนื่อง เสริมสร้างแรงให้กับผู้ป่วย ชื่นชมกับการจัดการตนเองตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมโปรแกรม เพื่อให้
ผู้ป่วยเกิดกำลังใจในการพัฒนาตนเองต่อไป
ผลการศึกษา
1. ลักษณะทางประชากร กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน ส่วนใหญ่เป็นชาย (60.0%) อายุเฉลี่ย 61 ปี
จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (86.6%) สถานภาพสมรสคู่ (76.7%) ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม (66.7%) รายได้เฉลี่ย 4,996.70 บาท/เดือน ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลหลักเป็นภรรยา/สามี (70.0%)
ประกอบอาหารให้รับประทานเป็นประจำ คือ ภรรยา/สามี (36.7%) ได้รับประสบการณ์การได้รับความรู้
ด้านโภชนาการ (100.0%) ได้รับประสบการณ์การได้รับความรู้เรื่องการใช้ยา (100.0%) ได้รับประสบการณ์
การได้รับความรู้เรื่องปัจจัยส่งเสริมการเสื่อมของไต (100.0%) ระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ย
2
8 ปี ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI; kg/m ) ระหว่าง 23-24.90 โรคอ้วนระดับ 1 (46.7%)
รอบเอวเฉลี่ย 84.27 เซนติเมตร โรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง (76.7%) ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
คือยา Lorsatan (66.7%) และปัจจัยส่งเสริมการเสื่อมของไต คือ สูบบุหรี่ (40.0%)
2. หลังการทดลองพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีไตเสื่อมระยะที่ 3-4 มีพฤติกรรมการชะลอไต
เสื่อมมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.032) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการชะลอไต
เสื่อมเพิ่มขึ้น 0.14 คะแนน (95%CI; 0.01,0.26); ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) น้อยกว่าก่อน
การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c)
ลดลง 1.53% (95%CI; 1.01,2.03); ระดับน้ำตาลในเลือด Fasting Blood Sugar (FBS) น้อยกว่าก่อน
การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด Fasting Blood Sugar
(FBS) น้อยกว่า 33.37mg/ml (95%CI; 21.82, 44.91); อัตราการกรองของไต (eGFR) มากกว่าก่อน
การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต (eGFR) เพิ่มขึ้น 4.49
mg/ml (95%CI; 2.36,6.61) และ Cr (Creatinine) ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน (p=.915)
อภิปรายผล
ผลการวิจัยครั้งนี้พบผลเช่นเดียวกับการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมที่โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ ซึ่งพบว่าหลังทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง
ระดับสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ; กลุ่มทดลองมีการจัดการตนเองเรื่องการรับประทานอาหารและเรื่องการใช้ยา
10
11
อย่างเหมาะสม ; พฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมดีขึ้น ; การจัดการตนเองในการดูแลสุขภาพ
12
โดยรวม พบว่าสูงกว่าการทดลอง เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการรับประทานอาหารและด้านการใช้ยาสูงกว่า
ก่อนการทดลอง ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน
13
ความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม