Page 365 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 365

I25


                  ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรสุขภาพ โดยใช้ความรู้ ความเชื่อ ทักษะ และความสามารถในการกำกับตนเอง
                  ปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต เช่น การควบคุมอาหาร ควบคุมโรค
                  และปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อให้เกิดการชะลอความเสื่อมของไตและคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่
                  ของไตและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตให้ดีขึ้นและยาวนานที่สุด
                                                                          2
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                             สรุป
                          ผลการวิจัยพบว่าหลังทดลองกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมดีขึ้น
                  ค่าน้ำตาล (FBS)และค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ลดลง อัตราการกรองของไต (eGFR) เพิ่มขึ้น ส่วนค่าครีเอตินิน

                  (Creatinine) ไม่แตกต่างก่อนและหลังการทดลอง
                             ข้อเสนอแนะ
                         ด้านประโยชน์และการนำไปใช้ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปใช้โดยเน้นการ
                  สร้างพลังอำนาจ (Empowerment) ให้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และควรนำโปรแกรมฯ นี้
                  มาขยายผลการให้บริการสุขภาพประชาชนในรูปแบบของสื่อทางวิทยุ สิ่งตีพิมพ์ หรือเอกสารคู่มือดูแลสุขภาพ

                  ตนเองภาคประชาชน
                           ด้านการวิจัย ควรทำการวิจัยและศึกษาติดตามระยะยาว ในส่วนของ Health system ให้สมบูรณ์
                  ในด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเพิ่มและขยายภาพของ CCM Model ให้ครอบคลุมถึง

                  องค์ประกอบของ Community Resources and Policy เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชนและที่บ้านใน
                  การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรทำการวิจัยและศึกษาติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอื่น ๆ
                  ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมฯ เช่น ความเชื่อในสมรรถนะแห่งตนเองของผู้ป่วย (Self efficacy) พลังอำนาจของ
                  ผู้ป่วย (Empowerment) เป็นต้น และควรมีการพัฒนารูปแบบหรือกิจกรรมการดูแลตามความต้องการ

                  การดูแลที่ต่างกัน เช่น ผู้ป่วยที่มีผลลัพธ์ทางสุขภาพดีและมีพฤติกรรมสุขภาพดี การจัดการตนเองดีกับผู้ป่วยที่มี
                  ความรุนแรงของสุขภาพมากกว่า และมีแนวโน้มของผลลัพธ์สุขภาพไม่ดี ระบบการดูแลย่อยของสองกลุ่มควรมี
                  ความโดดเด่นของกิจกรรมการดูแลที่ต่างกัน
                        ด้านการศึกษา ควรจัดทำเป็นโปรแกรมสุขศึกษา เกี่ยวกับการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมใน

                  ระดับชั้นต่างๆ โดยเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพไต การชะลอเสื่อมของไต เพื่อให้ประชาชนทุก
                  วัยได้เรียนรู้เพื่อชะลอไตเสื่อม และจัดทำสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่าง
                  ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปถึงที่บ้านเพื่อให้บุคลากรสุขภาพและผู้ที่สนใจทั่วไป
   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370