Page 377 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 377

I37


                      การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยระบบการแพทย์ทางไกล

                                             โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์


                                                       นางจินตนา สุขประเสริฐ และแพทย์หญิงวรัญญา อริยตระกูลวงศ์

                                                                โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ
                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                           ในปัจจุบันโรคไตเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของ
                  การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร การดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรัง
                  ระยะสุดท้าย (end-stage renal disease, ESRD) ของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่ ร้อยละ70
                  เกิดจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน ผลที่ตามมาคือมีภาวะไตเสื่อม

                  และเสื่อมเร็วขึ้นหากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง จากข้อมูลพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของ
                  ประชากรหรือประมาณ 8,000,000คน เป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 80,000คน (สมาคมโรคไต.กรุงเทพฯ
                  2561.) จึงควรเน้นการชะลอความเสื่อมของไตเพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ต้องล้างไตช้าลง ประหยัดค่ารักษาพยาบาล
                  ให้ภาครัฐได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตได้ วิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่

                  อำเภอประโคนชัยพบว่ามีผู้ป่วยที่รักษาด้วยโรคเบาหวาน 7,054 ราย และความดันโลหิตสูง 13,480 ราย
                  ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 85.42 มีภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยแยกเป็นไตเสื่อม
                  ระยะที่ 3,4,5 ร้อยละ 20,2.93,1.80 ตามลำดับ (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดบุรีรัมย์) รวมทั้งร้อยละของผู้ป่วย
                  CKD ที่มีอัตราการลดลงของeGFR<5ml/min/1.73m2/yr61%ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด การขาดนัดของ

                  ผู้รับบริการในคลินิกจากไม่มีค่าเดินทางและไม่มีผู้ดูแลนำส่ง ปัญหาความแออัดในสถานบริการจึงได้พัฒนา
                  ระบบการบริการในคลินิกขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรับบริการของผู้ป่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
                  เพิ่มโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชน ยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

                  ในการดูแลสุขภาพ เพิ่มความพึงพอใจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของสถานพยาบาลในการให้บริการ
                  ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องตามแนวนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                  (นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว) ที่กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขเป็น “สาธารณสุขยุคใหม่ (MOPH Plus)”
                  ยกระดับการดูแลสุขภาวะทุกมิติโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                           1. เพื่อจัดกลุ่มการให้บริการได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดกิจกรรมพบศิษย์พี่
                           2. เพื่อลดแออัดและลดเวลารอคอย และอุบัติการณ์ความเสี่ยง 0%
                           3. เพิ่มโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้รับบริการ
                           4. อัตราการลดลงของeGFR≥66%

                           5. ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะที่ต้องล้างไตช้าลง

                  วิธีการศึกษา
                           การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงร่วมกับการสังเกต

                  อย่าง มีส่วนร่วม (Participation observation)ในCKDstage5  ช่วงตุลาคม 2565-กันยายน 2566 จำนวน
                  179 คน
                  ขั้นตอนระยะที่ 1 วิเคราะห์สาเหตุที่พบในหน่วยงานและวางแผนพัฒนาระบบดังนี้
   372   373   374   375   376   377   378   379   380   381   382