Page 397 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 397
J10
2. เก็บข้อมูลในกลุ่มทดลอง เดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2566 โดยการนำเครื่องมือที่ใช้ใน
การดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม ได้แก่ การแจกแผ่นพับ
ความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวฯ ให้แก่ผู้ป่วยต้อกระจกที่จักษุแพทย์นัดมาทำผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม
ที่แผนกผู้ป่วยนอกคลินิกจักษุ และเมื่อผู้ป่วยเข้านอนโรงพยาบาลวันแรก ก่อนเข้าการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับ
การสอนรายกลุ่มด้วยสื่อวิดีทัศน์ที่มีความยาวประมาณ 30 นาที จากนั้นเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างได้ซักถาม
และเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยที่หอผู้ป่วยใน โสต ศอ นาสิก จักษุจนครบ 34 ราย
3. ผู้วิจัยได้นำข้อมูลวิเคราะห์โดยประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดย 1) วิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนบุคคล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และหาร้อยละ (Percentage)
2) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การเตรียมผ่าตัดของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม
หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ โดยใช้สถิติ Independent t-test 3) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัว
การเตรียมผ่าตัดของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ
โดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา
1. คะแนนความรู้ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ
(x̄ = 18.5, SD = 1.49) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน (Median = 17.00, SD = 1.55)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01
2. คะแนนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ
(x̄=11.00, SD=2.93) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน (x̄= 3.00, SD=2.72) อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ p < .01
3. อัตราการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่
ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p = 1.00)
อภิปรายผล
1. คะแนนความรู้ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ
(x̄ = 18.5, SD = 1.49) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน (x̄ = 17.00, SD = 1.55) อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับกับงานวิจัยของสุมาลินี ชุ่มชื่น (2566) ที่ศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติของ
พยาบาลต่อความรู้ ในการปฏิบัติตนในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร พบว่า
แนวปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่ได้เป็นคู่มือประกอบด้วยความรู้โรคต้อกระจก การเตรียมตัว
ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก สื่อวิดีทัศน์ การเช็ดตา หยอดตา การสอนสาธิตการเช็ดตาหยอดตา แผ่นพับการปฏิบัติ
ตัวผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก คะแนนความรู้หลังการใช้แนวปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกหลังการทดลอง
สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .001) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ
สุธัญญา นวลประสิทธิ์ และคณะวิจัย (2553) ที่ศึกษาผลของการใช้สื่อวิดีทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเอง
ต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกและญาติผู้ดูแล ผลการวิจัยพบว่าความรู้
และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกและญาติผู้ดูแลหลังการสอนโดยใช้สื่อวิดีทัศน์
โปรแกรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก ความรู้และความสามารถของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลก่อนและหลังการสอน
พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .01 อภิปรายได้ว่าการให้ความรู้ตามแบบที่พัฒนาขึ้นเป็น
การสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความรู้ที่มีแบบแผน รูปแบบชัดเจนโดยคำนึงถึงความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ
ของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดูแลตนเอง อีกทั้งรูปแบบการให้ความรู้ มีการจัดเรียง