Page 463 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 463
L12
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด จำนวน 20 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 14 คน (ร้อยละ 70)
มีช่วงอายุระหว่าง 36-59 ปี จำนวน 8 คน (ร้อยละ 40) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 8 คน (ร้อยละ 40)
และประกอบอาชีพข้าราชการ จำนวน 6 คน (ร้อยละ 30)
2. แบบประเมินระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม
พบว่าผลการวัดความเจ็บปวดตามความรู้สึกของผู้ป่วยโดยกำหนดความปวดเป็น 6 ระดับ คือ
ปวดสุดจะทน ปวดเป็นอย่างมาก ปวดมากพอสมควร ปวดพอประมาณ ปวดพอรำคาญ และไม่ปวด ก่อนการใช้
นวัตกรรมคฑาทิพย์ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับอาการปวดในระดับปวดอย่างมาก จำนวน 9 คน (ร้อยละ 45)
รองลงมาอยู่ในระดับปวดมากพอสมควร จำนวน 8 คน (ร้อยละ 40) และปวดพอประมาณ จำนวน 3 คน
(ร้อยละ 15) หลังการใช้นวัตกรรมผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับอาการปวดอยู่ในระดับปวดพอรำคาญ จำนวน 8 คน
(ร้อยละ 40) รองลงมาอยู่ในระดับปวดพอประมาณ จำนวน 6 คน (ร้อยละ 30) ปวดมากพอสมควร จำนวน 3 คน
(ร้อยละ 15) ไม่ปวด จำนวน 2 คน (ร้อยละ 1) และปวดเป็นอย่างมาก จำนวน 1 คน (ร้อยละ 5) ตามลำดับ
3. ความพึงพอใจที่ได้รับจากการใช้นวัตกรรม
พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมจากการใช้นวัตกรรมคฑาทิพย์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย 4.60 และเมื่อพิจารณาในหัวข้อย่อยพบว่า ความพึงพอใจในส่วนของนวัตกรรมนี้มีความเหมาะสม
สะดวก ปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.65 นวัตกรรมนี้มีประโยชน์มากแก่ผู้มารับบริการ อยู่ในระดับ
มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 นวัตกรรมสามารถช่วยลดอาการปวดบ่าและสะบักได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย
4.70 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.25 และควรมีการพัฒนา
นวัตกรรมนี้เพื่อต่อยอดต่อไป อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.90
อภิปรายผล
จากการศึกษา พบว่ากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุระหว่าง 36-59 ปี ส่วนใหญ่
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ จากผลการประเมินความรู้สึกระดับ
อาการปวดตามความรู้สึกของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมคฑาทิพย์กดจุดลดปวดบ่าและสะบัก พบว่า
กลุ่มตัวอย่าง ก่อนการใช้นวัตกรรมมีระดับอาการปวดเป็นอย่างมากร้อยละ 45 และหลังการใช้นวัตกรรมพบว่า
รู้สึกปวดพอรำคาญร้อยละ 40 โดยกลุ่มตัวอย่างมีระดับความปวดกล้ามเนื้อบ่าและสะบักลดลง และการประเมิน
ความพึงพอใจภาพรวมในการใช้นวัตกรรมคฑาทิพย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นการใช้นวัตกรรมคฑาทิพย์
สามารถลดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและสะบักได้ เมื่อเปรียบเทียบจากการประเมินระดับความเจ็บปวด
ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมคฑาทิพย์ ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดตึงบ่า
และสะบัก มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดตึงและคลายกล้ามเนื้อได้ ซึ่งสอดคล้อง
กับการศึกษานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ตะขอนวดวิไล นอกจากนี้ผู้ป่วยและผู้ที่สนใจสามารถประดิษฐ์นวัตกรรม
คฑาทิพย์ได้ด้วยตนเอง จากไม้สักซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เนื่องจากเนื้อไม้สักมีความนิ่ม สามารถแปรรูป
ได้ง่าย คงทนต่อทุกสภาพอากาศ ไม่มีรอยปลวกหรือมอดมาทำลายเนื้อไม้ และหาได้ง่ายในท้องถิ่นจังหวัดแพร่
โดยนวัตกรรมนี้เกิดประโยชน์และเป็นต้นแบบให้ผู้ป่วยหรือผู้สนใจนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ
ของตนเองและคนในครอบครัว เพื่อลดอาการปวดบ่าและสะบัก ตรงกับวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย