Page 462 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 462
L11
คฑาทิพย์กดจุดลดปวดบ่าและสะบัก
นางสาวจิรัชยา ไพโรจน์
โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
นวัตกรรมคฑาทิพย์กดจุดลดปวดบ่าและสะบัก มีแนวคิดการพัฒนาเนื่องมาจาก ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับ
บริการทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร้องกวาง ส่วนใหญ่มาด้วยปัญหาทางด้าน
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ปัญหาหนึ่งที่พบมาก คือ ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดตึงบริเวณกล้ามเนื้อบ่าและสะบัก
ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมในการนั่งทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานหลายชั่วโมง
หรือผู้ที่มีอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในท่าเดิมนานๆ มักจะปวดบ่าและสะบัก เพราะอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น
การนั่งก้มหลัง หรือยกไหล่สูงเกินไป พิมพ์งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทางหน่วยงานจึงได้คิดประดิษฐ์
นวัตกรรมนี้ขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวดตึงตัวของกล้ามเนื้อบ่าและสะบัก และง่ายต่อการ ใช้งาน เนื่องจาก
บริเวณร่างกายที่มีอาการ ผู้ป่วยไม่สามารถนวดคลายด้วยตนเองได้อย่างสะดวกหรือทำได้ไม่เต็มที่ โดยนวัตกรรม
ชิ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนามาจากตะขอนวดวิไล (วิชัย อึงพินิจพงศ์, 2558) ที่สามารถทำได้เอง
และวัสดุที่ใช้หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นต้นแบบให้ผู้ป่วยหรือผู้สนใจนำมาประยุกต์ใช้งาน
และสามารถนำมาบรรเทาอาการปวดตึงบริเวณกล้ามเนื้อบ่าและสะบัก ด้วยตนเองเบื้องต้นได้
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและสะบักด้วยตนเองได้
2. เพื่อนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วิธีการศึกษา
1. รูปแบบการศึกษา : เป็นรูปแบบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ส่งเสริมสุขภาพ ให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเอง
ได้อย่างถูกวิธี และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (คฑาทิพย์ทำจากไม้สัก
ไม้แดง ไม้มะค่า หรือไม้เนื้อแข็งที่หาได้ในท้องถิ่น โดยพัฒนาจากตะขอนวดวิไล)
2. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง : ผู้มารับบริการงานแพทย์แผนไทยที่มีอาการปวดบ่าและสะบัก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 20 คน
3. วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง : (1) ผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลร้องกวางที่มีอาการปวดบ่าและสะบักที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์แผนไทยที่มีใบประกอบ
วิชาชีพ (2) ความดันโลหิต systolic ไม่เกิน 140 mmHg และ/หรือ diastolic ไม่เกิน 90 mmHg (3) ไม่เป็น
โรคมะเร็งและโรคติดต่อร้ายแรง
4. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ : เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและใช้สถิติเชิงพรรณนา
จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย