Page 465 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 465
L14
การพัฒนาแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย
นางสาวบุศญา กาศอินตา, นางสาววิมลักษณ์ นพศิริ, นางยุวดี ธรรมวงศ์ชัย พร้อมคณะ
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
สถานการณ์ในปัจจุบันเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ผู้พิการ หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ ผู้ป่วยที่ไม่เข้าถึงบริการทางโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น
ทีมแพทย์แผนไทยเล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันประชุมศึกษาปัญหาและความต้องการ
ของผู้ป่วยหรือผู้ดูแล เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์
พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจ และได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเองหรือผู้ดูแล
แพทย์แผนไทยสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้ โดยใช้องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ในด้านการให้บริการ
ดูแล ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์
ทางเลือก จากฐานข้อมูลโรงพยาบาล พบว่ามีการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโดยแพทย์แผนไทย ในปี 2562 จำนวน 262 คน
447 ครั้ง, ปี 2563 จำนวน 297 คน 437 ครั้ง และปี 2564 จำนวน 320 คน 639 ครั้ง ซึ่งคาดว่าในปีต่อๆ ไป
จำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการเยี่ยมบ้าน ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะได้รับ
ความสนใจ และเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมเด็จ
พระยุพราชเด่นชัย
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ Action Research เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย โดยใช้กระบวนการ PDCA
ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ดูแลหรือผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการหรือผู้ที่มีความ
บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ ที่อาศัยในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ และเคยได้รับการเยี่ยมบ้านโดยแพทย์แผน
ไทย ในปี 2564 จำนวน 320 ราย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie & Morgan ในระดับความเชื่อมั่น
ร้อยละ 95 ได้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบไม่เจาะจง
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว อาชีพ การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ
2. แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของ ADL ก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน ด้วยสถิติ Paired t-test
3. แบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
ทดสอบความแตกต่างของคะแนนคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านด้วยสถิติ Paired t-test
4. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยหรือญาติหลังได้รับการเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน