Page 466 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 466

L15


                        วิธีการดำเนินงาน

                        ขั้นที่ 1. Plan ประชุมทีมแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ร่วมกับทีมเยี่ยมบ้าน
                  สหวิชาชีพ ศึกษาปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์
                  การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย

                        ขั้นที่ 2. Do ทีมแพทย์แผนไทยร่วมกันจัดทำแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์
                  แผนไทย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย
                        ขั้นที่ 3. Check นำแนวปฏิบัติการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาล
                  สมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 30 ราย และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแนวปฏิบัติ
                  จนเหมาะสมกับงานเยี่ยมบ้าน เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย ปรับให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเหมาะกับการเผยแพร่

                        ขั้นที่ 4 Act แพทย์แผนไทยออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 175 ราย ใช้แนวปฏิบัติการ
                  ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัยที่ร่วมกันจัดทำ
                  โดยใช้เครื่องมือ คือ (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย (2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตร

                  ประจำวันของผู้ป่วยก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน (3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลก่อน
                  และหลังการเยี่ยมบ้าน และ4.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยหรือญาติหลังได้รับการเยี่ยมบ้าน
                        ขั้นที่ 5 นำข้อมูลจากแบบสอบถามที่ตอบแล้วหลังการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยแต่ละรายมาวิเคราะห์และ
                  ประมวลผลการศึกษา
                        ขั้นที่ 6 สรุปผลการศึกษา และอภิปรายร่วมกันในทีมเยี่ยมบ้านแพทย์แผนไทย

                        ขั้นที่ 7 เผยแพร่การศึกษานี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสนใจศึกษา

                  ผลการศึกษา
                        1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 66.29 รองลงมาเป็นเพศ
                  ชาย จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 33.71, ส่วนใหญ่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 57.71
                  รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 61 – 70 ปี จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 29.14, ส่วนใหญ่เป็นโรคอัมพฤกษ์ จำนวน

                  67 คน คิดเป็นร้อยละ 38.28 รองลงมาคือโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 17.71 โรคความดัน
                  โลหิตสูง จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 16.57, โรคเบาหวาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 7.42 และโรคมะเร็ง
                  จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 6.85 ตามลำดับ, อาชีพส่วนใหญ่ไม่ประกอบอาชีพ จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ

                  82.29 รองลงมาประกอบอาชีพค้าขาย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 10.29 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ
                  ชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 42.29 รองลงมาจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 60 คน
                  คิดเป็นร้อยละ 34.29 และระดับชั้นปริญญาตรี จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 21.14 ตามลำดับ
                        2. ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) ก่อนการเยี่ยมบ้าน มีค่า ADL ร้อยละ 67.15
                  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.43 SD เท่ากับ 7.63 และหลังการเยี่ยมบ้านมีค่า ADL ร้อยละ 81.55 คิดเป็น ค่าเฉลี่ย

                  เท่ากับ 16.31 และ SD เท่ากับ 5.82
                        3. คุณภาพชีวิต ร้อยละของคุณภาพชีวิตก่อนการเยี่ยมบ้าน คิดเป็นร้อยละ 64.90 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
                  84.38 SD เท่ากับ 18.6 และคุณภาพชีวิตหลังการเยี่ยมบ้านคิดเป็นร้อยละ 80.79 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 105.03 SD

                  เท่ากับ 12.02
                        4. ความพึงพอใจ พบว่า หลังการเยี่ยมบ้าน ส่วนใหญ่มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80
                  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 SD เท่ากับ 0.49

                  อภิปรายผล
                         จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจหลังการเยี่ยมบ้าน มากที่สุด คิดเป็น

                  ร้อยละ 80 ผู้ป่วยหลังได้รับการเยี่ยมบ้านมีค่าความสามารถในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (ADL) เพิ่มขึ้น
   461   462   463   464   465   466   467   468   469   470   471