Page 470 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 470

L19


                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         จากการทดลองใช้เจลพอกเข่าสมุนไพร ในผู้ป่วยที่มรอาการปวดเข่าจำนวน 30 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง
                  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.7 อายุอยู่ในช่วง 40-65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 100 ไม่แพ้สมุนไพร/สารเคมี ร้อยละ 100

                  และมีอาการปวดเข่ามา 1-4 ปี ร้อยละ 66.7ค่าระดับความรุนแรงของอาการปวดเข่าก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ย 6.67
                  เมื่อเทียบกับหลังการพอกเข่าพบว่า ผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงของการปวดที่ลดลง วัดจากค่าความเจ็บปวด
                  หลังจากการทดลองมีค่าเฉลี่ย 4.30 และเจลพอกเข่ามีความพึงพอใจในกลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ย 4.73 พบว่า
                  มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก
                         จากการทำนวัตกรรมพบว่า ในชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

                  บ้านหนองบัว ประชากรที่ทดลองใช้เจลพอกเข่า เพื่อช่วยในการอธิบาย พัฒนาตำรับยาสมุนไพรพอกเข่า นำมา
                  ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบเจล เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน การจัดเก็บ และการเข้าถึงการรับบริการ
                  ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเจลพอกเข่าสมุนไพรในการลดอาการปวดในผู้ป่วย

                  ที่มี ภาวะข้อเข่าเสื่อม
                  ข้อเสนอแนะ

                         ควรนำสมุนไพรแห้งมาทำเป็นสารสกัดสมุนไพร เพื่อยื่นอายุการใช้งานของเจลพอกเข่าให้เพิ่มมากขึ้น
   465   466   467   468   469   470   471   472   473   474   475