Page 471 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 471

L20


                การพัฒนารูปแบบการบูรณาการนักบริบาลท้องถิ่นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (CG Plus )
                       ในสถานชีวาภิบาล ณ วัดหนองกระดูกเนื้อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์


                                                               เภสัชกรหญิงปิยฤดี ฉายแสงมงคล และนางสาววิสานาจ สระแก้ว

                                                                           สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์
                                                                                             ประเภท วิชาการ


               ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                      ด้วยกระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันแพทย์แผนไทย ได้พัฒนางานการแพทย์แผนไทย ให้เป็นส่วนหนึ่ง
               ของระบบสาธารณสุขของไทย โดยมีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ
               ตามนโยบายแผนพัฒนาสาธารณสุข โดยกระทรวงมีความมุ่งหมายนอกเหนือจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแล้ว
               แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทย มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำลง เนื่องจากการแพทย์แผนไทย

               ซึ่งเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพในซีกตะวันออก เป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิต
               การดูแลสุขภาพแบบคนไทยที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคฟื้นฟูสภาพ มีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ
               การรักษาพยาบาล เช่น การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดไทย

               การบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน การทำสมาธิบำบัดแบบ SKT รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร
               ผักพื้นบ้าน อาหารตามฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ประชาชนทั่วไปสามารถที่จะจัดหาได้เองและมีอยู่แล้ว
               ในท้องถิ่น เป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ อันซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนมากกว่า
               การรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น อีกประเด็นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายและสอดรับกับด้านสถานชีวาภิบาล
               ให้ทุกตำบลมีสถานชีวาภิบาล เพื่อใช้ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ QUIC WIN 100 วัน

                      “1 จังหวัด 1 สถานชีวาภิบาล” เป็นนโยบายเร่งด่วนหรือควิกวินของกระทรวงสาธารณสุขที่ประกาศไว้
               ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 หมายความว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในอีก 100 วันหรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2567
               ซึ่งเดิมตั้งเป้าจะมีทุกจังหวัด แต่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปรับเป้าลงมาเป็นเพียง

               แค่ทุกเขตสุขภาพ 13 เขตในเฟสแรก เพราะยอมรับในข้อจำกัดหลายด้าน ซึ่งคาดการณ์จำนวนผู้สูงอายุและ
               ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ปี 2563, 2569 และ 2573 ประชากรผู้สูงอายุ 12,621,655,15,638,572,17,578,929
               จำนวนผู้สูงอายุภาวะพึ่งพึง 2,473,844,3,065,160,3,445,470 (ที่มา:วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข)
                      กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ได้ตระหนัก
               ถึงปัญหาสุขภาพของประชาชน พบว่าปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรคเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

               ไขมันเส้นเลือด ซึ่งทำให้เกิดอาการเหน็บชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นสาเหตุของการพิการ
               เป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยแบบระยะประคับประคอง(Palliative Care)และภาวะพึ่งพิง จึงมีนโยบาย
               ส่งเสริมให้นักบริบาลท้องถิ่น Care Giver (CG )มีการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติในศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อช่วยฟื้นฟู

               สภาพร่างกายของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีในสถานชีวาภิบาลและมีการประสานความช่วยเหลือจากสหวิชาชีพ
               โรงพยาบาลลาดยาว โดยนำร่องที่วัดหนองกระดูกเนื้อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

               วัตถุประสงค์การศึกษา
                       เพื่ออธิบายรูปแบบกระบวนการ การบูรณาการนักบริบาลท้องถิ่นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (CG Plus )
               ณ วัดหนองกระดูกเนื้อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
   466   467   468   469   470   471   472   473   474   475   476