Page 474 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 474
L23
ผลของการลดอาการปวดเข่า ด้วยการใช้ สายรัด ปวดก็แปะ
นางนิตยา นันทา
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ประเทศไทยมีแนวโน้มประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นสังคม
ผู้สูงอายุวัยสูงอายุเป็นวัยแห่งความเสื่อมของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งก่อให้เกิด
ความพิการและส่งผลต่อภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ (สุภาพ อารีเอื้อ, 2559) มักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
(กรมการแพทย์, 2557)หรืออาจเกิดได้จากการมีน้ำหนักตัวมาก การใช้งานข้อเข่าไม่เหมาะสม และสาเหตุอื่นๆ
จุดมุ่งหมายในการรักษา คือ ลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น (กรมการแพทย์, 2557) นอกจากนี้
ยังมีแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทยได้แก่ การรักษาด้วยยาสมุนไพรมีทั้งชนิดที่เป็นยา
รับประทานและยาใช้ภายนอก การรักษาด้วยหัตถการเช่นการนวด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
ช่วยลดอาการบวม บรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณเข่า ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
ได้กำหนดให้มีการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยแบบคัดกรอง ผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : BGS)
ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้รับการคัดกรองดังกล่าว 1 ชุมชน คือชุมชนเดชาพัฒนา มีจำนวน 355 คน มีอาการปวดเข่า
ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 24.78 ผู้วิจัยจึงได้จัดทำ นวัตกรรม สายรัดปวด
ก็แปะ เพื่อนำมาใช้บรรเทาอาการปวดเข่า ร่วมกับการนำยาสูตรยาสมุนไพรมาพอกเข่า ในผู้ป่วยที่มีอาการ
ปวดข้อเข่า และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลของการลดระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลัง การใช้ นวัตกรรม สายรัดปวด ก็แปะ
ร่วมกับการใช้สมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อเข่า
วิธีการศึกษา
กรอบแนวคิดในการวิจัย จากการคัดกรองสุขภาพผู้ป่วยในชุมชนเดชาพัฒนา ผู้วิจัยจึงได้จัดทำ
นวัตกรรม สายรัดปวด ก็แปะ ร่วมกับการใช้สมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อเข่า ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ดูแลอาการปวด
เข่า เบื้องต้นได้ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research design)
แบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ (one group pretest posttest design)
ตัวแปรต้น (Independent Variable) ตัวแปรตาม (Dependent Variable)
1. นวัตกรรม สายรัดปวด ก็แปะ
2. การพอกสมุนไพรบรรเทาอาการ ระดับความปวดเข่า
ปวดเข่า
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งผ่านการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
แบบคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : BGS) และพบว่ามีอาการปวดเข่า จำนวน 88 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า จำนวน 24 คน โดยคัดเลือกแบบ เจาะจง (Purposive sampling)
ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเข้า คัดออกดังต่อไปนี้