Page 472 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 472

L21


               วิธีการศึกษา
                      การศึกษานี้ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (Community-Based
               Participatory Research) ในการพัฒนารูปแบบการบูรณาการนักบริบาลท้องถิ่นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

               (CG Plus ) ในสถานชีวาภิบาล ณ วัดหนองกระดูกเนื้อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมาย
               ประกอบด้วยนักบริบาลท้องถิ่น จำนวน 36 คน ระยะเวลาการศึกษา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม -ธันวาคม 2566

               ผลการศึกษา
                      นักบริบาลท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ จำนวน 4 คน นักบริบาลท้องถิ่น
               โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบุรีรัมภ์ จำนวน7คน และนักบริบาลท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

               บ้านหนองนมวัว จำนวน 25 คน เพศหญิง 34 คน( ร้อยละ94.44 ) ,เพศชาย 2 คน (ร้อยละ 5.55 ) การฝึกสมาธิ
               บำบัดแบบ SKT ครบ 7 ท่า (100%) ฝึกการหัวเราะบำบัดผ่อนคลายครบ อู อา โอ เอ เอะ อึ  ฝึกการมีส่วนร่วม
               ในการใช้อุปกรณ์พอกเข่า ผสมยาสมุนไพร ได้ถูกต้อง สังเกตจากการถาม ตอบ เกิดรูปแบบการบูรณาการ
               ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ระยะ คือ1) ระยะการวางแผน 2) ระยะการดำเนินการ 3) ระยะการกำกับติดตาม 4) ระยะ
               การประเมินผล เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน วัดหนองกระดูกเนื้อ โรงพยาบาลลาดยาว โรงพยาบาล

               ส่งเสริมสุขภาพ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการนักบริบาลท้องถิ่นด้วยศาสตร์
               การแพทย์แผนไทย  ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จประกอบไปด้วย ภาวะผู้นำองค์กรศาสนาที่ดี มีความมุ่งมั่น
               คณะกรรมการโรงพยาบาลลาดยาว สาธารณสุขอำเภอลาดยาว (พชอ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มาจากภาคี

               เครือข่ายและประสานความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่ และเกิดความร่วมมือในชุมชน
               อภิปรายผล

                      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการนักบริบาลท้องถิ่นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
               (CG Plus ) วัดหนองกระดูกเนื้อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ท่านเจ้าอาวาส พระภิกษุวัดหนองกระดูกเนื้อ
               อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์มีความพร้อมด้านสถานที่ อุปกรณ์ ผ่านมาตรฐานสถานชีวาภิบาลในชุมชน

               และองค์กรศาสนา ใช้กลไก พชอ. ในการขับเคลื่อนงานและมีนักบริบาลท้องถิ่น Care Giver (CG )แพทย์แผนไทย
               ร่วมให้การดูแลผู้ป่วยในสถานชีวาภิบาล

               สรุปและข้อเสนอแนะ
                      - ผู้ศึกษาเสนอแนะให้องค์กร หน่วยงานต่างๆนำหลักสูตรการบูรณาการนักบริบาลท้องถิ่นแพทย์แผนไทย
               ทุกตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ ปรับใช้ในสถานชีวาภิบาล โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ

               ในทุกกระบวนการของสังคม
                      - ควรถอดบทเรียนการพัฒนารูปแบบการบูรณาการนักบริบาลท้องถิ่นแพทย์แผนไทยในสถานชีวาภิบาล
               เพื่อให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาที่หลากหลาย นำไปสู่การขยายผลและปรับใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้บริบท
               ที่คล้ายคลึงกัน
                      - ยังไม่มีผู้รับบริการในสถานชีวาภิบาลและนักบริบาลท้องถิ่นยังไม่ได้ให้บริการทางด้านแพทย์แผนไทย

               และมีแผนพัฒนาต่อยอดตามมาตรฐานความรู้นักบริบาลท้องถิ่น (CG) แพทย์แผนไทยให้ครบ 30 ชั่วโมง
   467   468   469   470   471   472   473   474   475   476   477