Page 477 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 477

L26

                     ประสิทธิผลของตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ในผู้ป่วยนอนไม่หลับ โรงพยาบาลอ่างทอง



                                                                                   นางสาวนวมินทรา กล่อมจันทร์
                                                                  โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ภาวะการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งพบว่าคนไทยวัยทำงานในช่วงอายุ 25 – 40 ปี
                  จำนวนร้อยละ 70 เผชิญปัญหานอนไม่หลับมากถึงร้อยละ 40 หลับยากมากขึ้นร้อยละ 30 ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้

                  ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ยังส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจรวมไปถึงเรื่องความจำ อารมณ์แปรปรวน
                  หงุดหงิดง่าย การทำงานของฮอร์โมนลดลงและร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะเห็นว่าปัญหาที่เกิดจากภาวะนอนไม่หลับ
                  เป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการรักษา
                         ตำราพระโอสถพระนารายณ์ประกอบด้วยตำรับยาจำนวน 81 ขนาน ซึ่งหนึ่ง ในนั้น คือตำรับยา

                  สมุนไพรศุขไสยาน์เป็นขนานที่ 44 มีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับ และเจริญอาหาร การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์
                  เพื่อประเมินประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ณ โรงพยาบาล
                  อ่างทอง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ใช้เป็น หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อยืนยันประโยชน์และความปลอดภัยของการใช้ตำรับ

                  ยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ และยังสามารถเป็นแนวทางเวชปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ในการดูแล
                  ผู้ป่วยต่อไปได้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยนอนไม่หลับก่อนและหลังที่ได้รับการรักษาด้วย
                  ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์

                         2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนอนไม่หลับก่อนและหลังที่ได้รับการรักษาด้วยตำรับ
                  ยาสมุนไพรศุขไสยาศน์
                         3. เพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยนอนไม่หลับที่ได้รับการรักษาด้วยตำรับยาสมุนไพรศุข
                  ไสยาศน์

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (Pre Experiment Research) เปรียบเทียบกลุ่ม
                  เดียววัดผลก่อน-หลัง (One group pre-posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับมาแล้ว
                  อย่างน้อย 1 เดือน ไม่เคยได้รับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ที่มารับบริการที่คลินิกกัญชาทาง
                  การแพทย์ โรงพยาบาลอ่างทอง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบไปด้วย
                  ข้อมูล 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป  คุณภาพการนอนหลับ (PSQI)  คุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L)  แบบซักประวัติอาการ

                  ไม่พึงประสงค์จากการใช้ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ และแบบประเมินไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Naranjo’
                  algorithm) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง
                  ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2566 ถึง20 กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน

                  ( Paired samples t-test ) การศึกษานี้ได้ผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จังหวัดอ่างทอง เลขที่
                  ATGEC 38/2566
   472   473   474   475   476   477   478   479   480   481   482