Page 486 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 486

L35


                   การศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับต่อการใช้ยาสมุนไพรศุขไสยาสน์
                                     ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10

                             The study of sleep quality with insomnia patients using “SUKSAIYAS”


                              น.ส.วรรณิษา อุ้ยคัชชะ, น.ส.สุภารัตน์ ไชยหาญ, น.ส.กฤตยา กฤษณภูติ และนางสมถวิล ทาหอม
                                                               โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 จังหวัดชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         การนอนหลับเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก รวมถึงคนในประเทศไทย
                  สถานการณ์การนอนไม่หลับมีความน่ากังวลอย่างยิ่ง จากการสำรวจพบว่า ในปี 2562 มีคนไทยประมาณ 19
                  ล้านคนที่มีปัญหาการนอนหลับ การนอนที่ไม่มีคุณภาพส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ภาวะนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบ

                  บ่อยที่สุด ซึ่งพบว่าประชากรในวัยผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 30 จะต้องเคยประสบกับภาวะนี้ในช่วงเวลาใดเวลา
                  หนึ่งของชีวิต บางคนอาจเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ก็มีบางส่วนที่มีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง และมีถึงร้อยละ 10
                  ที่ภาวะนอนไม่หลับนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนได้รับการวินิจฉัย
                  ว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia disorder) ในผู้สูงอายุนั้นภาวะนอนไม่หลับสามารถพบได้สูงถึงเกือบร้อยละ 50
                  ทั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น มีการสร้างฮอร์โมน

                  เมลาโทนินที่ลดลงส่งผลทำให้วงจรการหลับ - การตื่นเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
                         ประเทศไทยมีการนำกัญชามาใช้เป็นยารักษาโรค มีหลักฐานซึ่งถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ในภาพ
                  จิตรกรรมฝาผนังและคัมภีร์ตำราการแพทย์แผนไทยหลายเล่ม เช่น ตำราโอสถพระนารายณ์ ตำราแพทย์ศาสตร์

                  สงเคราะห์ เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการประกาศพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับใหม่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
                  กำหนดมาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 17 ก.พ. 2562
                  โดยอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาและกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วยหรือ
                  การศึกษาวิจัยและพัฒนา ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                  มีนโยบายสนับสนุนการใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ทั้งหมด 16 รายการ โดยตำรับยาที่ได้เริ่มมีการใช้

                  จริงในสถานพยาบาล ได้แก่ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ และอาการ
                  เบื่ออาหาร
                         งานการแพทย์แผนไทย ได้เปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564

                  มีการตรวจรักษาและจ่ายยาตำรับยาสมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม คือ ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์
                  โดยผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ที่เคยได้รับการรักษามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล และผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์
                  การรักษาผู้ป่วยในคลินิกกัญชาตามแนวเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
                  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาคุณภาพการนอนหลับ และอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วย
                  โรคนอนไม่หลับที่ใช้ยาสมุนไพรศุขไสยาสน์


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาคุณภาพการนอนหลับและอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับที่ใช้
                  ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์
   481   482   483   484   485   486   487   488   489   490   491