Page 491 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 491
L40
4) ระดับความพึงพอใจ หลังใช้สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบเพื่อบรรเทาอาการจับหอบ
ของผู้ป่วยโรคหืด
รายการ ความพึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย ( ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระดับความพึงพอใจ
ด้านลักษณะทางกายภาพ 4.42 0.87 มาก
ด้านคุณภาพ 4.35 0.89 มาก
ด้านประโยชน์ 4.73 0.57 มากที่สุด
อภิปรายผล
การศึกษานี้ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมการศึกษา
ทั้งหมด 30 คน ไม่มีผู้ที่ถูกคัดออกจากการศึกษา โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (93.3%) มีอายุอยู่ในช่วง 40-60 ปี
(53.3%) และมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงร่วมด้วยมากที่สุด (60%) ผู้เข้าร่วมการศึกษามีความถี่ในการ
ใช้ยาพ่นฉุกเฉินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 6.99, p<0.05) โดยพบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาบางราย
มีความเข้าใจในการใช้ยาพ่นฉุกเฉินที่ไม่ถูกต้อง โดยใช้ยาพ่นฉุกเฉิน เมื่อรู้สึกเหนื่อยขึ้นจากเดิมเล็กน้อย
ไอมากกว่าปกติ หรือเพื่อป้องกันอาการจับหอบแม้ไม่ได้มีอาการหรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการจับหอบ
ซึ่งภายหลังจากใช้สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบแล้วผู้เข้าร่วมการศึกษารู้สึกว่าอาการ
ข้างต้นดีขึ้น รู้สึกกังวลต่ออาการจับหอบลดลง จึงลดความถี่ในการใช้ยาพ่นฉุกเฉินลงได้ตามลำดับ
ในด้านของความพึงพอใจ ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่ชื่นชอบรูปร่างของแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหย
ดอกปีบที่มีขนาดเหมาะสม หยิบใช้ได้ง่าย มีกลิ่นหอม และอยากแนะนำให้ผู้อื่นใช้ต่อ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การใช้สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบช่วยบรรเทาอาการจับหอบได้ในผู้ป่วย
โรคหืดที่ยังควบคุมอาการได้ไม่ดี (Partly controlled) และช่วยลดการใช้ยาพ่นฉุกเฉินที่ไม่สมเหตุสมผลได้
ผู้ที่สนใจอาจนำการศึกษานี้ไปต่อยอดโดยการพัฒนาน้ำมันหอมระเหยดอกปีบในรูปแบบผลิตภัณฑ์อื่น
หรือขยายผลไปศึกษาในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้